กรรมการอาจถูกดาเนินคดีแทนนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
published: 28/4/2557 14:00:11 updated: 28/4/2557 14:00:11 17686 views THกรรมการอาจถูกดำเนินคดีแทนนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
โดย พันตำรวจโทพันเลิศ ตั้งศรีไพโรจน์
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง
เนื่องจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นคดีพิเศษตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ (๑) และในระหว่างที่ผู้เขียนทำงานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษผู้เขียนได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง ทำการตรวจสานวนในการเสนออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณามีความเห็นตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๔ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ พบว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนเป็นจำนวนมาก และคาดว่าต่อไปในอนาคตกรมสอบสวนคดีพิเศษอาจต้องรับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษอีกจานวนหลายคดี ประกอบกับผู้เขียนเห็นว่าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหลายท่าน อาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการสอบสวนคดีความผิดดังกล่าว จึงอยากจะถ่ายทอดความรู้ที่มีให้แก่ผู้อ่านที่สนใจทุกท่าน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อทางกรมสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่ทุกท่านต่อไปในอนาคตหากบทความดังกล่าวมีความผิดพลาดประการใดผู้เขียนขอน้อมรับคาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ถ้าหากบทความนี้มีประโยชน์ต่อท่านผู้เขียน ผู้เขียนขออุทิศความดีแด่บิดามารดาตลอดจนครูบาร์อาจารย์และผู้บังคับบัญชาในกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ได้มอบหมายให้ผู้เขียนร่วมตรวจพิจารณาและเสนอความเห็นทางคดีกับผู้เขียนทุกท่าน ตลอดจนท่าน พันตารวจโท วรรณพงษ์ คชรัตน์ ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้กรุณาให้คำเสนอแนะตลอดจนให้แรงบันดาลใจผู้เขียนให้เขียนบทความดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษตลอดจนผู้ที่สนใจทุกท่าน โดยผู้เขียนขอเสนอบทความดังนี้
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่
มาตรา ๘๓ ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สาหรับความผิดนั้น
๒ มาตรา ๒๗๑ ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔๓ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการ กระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา ๓๔๑ ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่ สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วย ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืม เงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้น ได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไปผู้นั้นกระทำความผิด ฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณาประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุน โดย
(๑) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ
(๒) เก็งกาไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย
มาตรา ๕ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
(๑) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน
(ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ
(ข) ดาเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ
(ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ
(ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ
(จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกัน ตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ ยืมของสถาบันการเงิน และ
(๒) ผู้นั้น
(ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วย ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ
(ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๗ ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืม เงินทั้งหลาย
ผู้ นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง ประชาชนตามมาตรา ๔ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะการณ์ทาง เศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้ หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น
มาตรา ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ใดได้กระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือกระทำการตามมาตรา ๕ (๑) หรือ (๒) (ก) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกให้ผู้นั้นหรือบุคคลใดที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะเป็น ประโยชน์แก่การตรวจสอบถึงการกู้ยืมเงิน มาให้ถ้อยคำ
(๒) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) รายงานสภาพกิจการของตนตลอดจนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของตน
(๓) สั่งให้บุคคลดังกล่าวตาม (๑) นาบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินมาตรวจสอบ
(๔) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อทาการตรวจสอบหรือค้นบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของบุคคลดังกล่าวตาม (๑) ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจสั่งบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการ เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบหรือค้น ตามควรแก่เรื่อง และให้มีอานาจยึดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานเหล่านั้นมาตรวจสอบได้
การ เรียกหรือการสั่งตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสือเรียกหรือคำสั่ง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน
เมื่อ ได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบหรือค้นตาม (๔) แล้วถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำการต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้
มาตรา ๑๒ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๔ หรือมาตรา ๕ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ความ ในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลด้วย
กรรมการอาจถูกดำเนินคดีแทนนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ ในฐานะตัวการร่วม หรือตาม พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ เป็นนิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น และยังรวมไปถึง พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลด้วย
๕ คาดว่า นิติบุคคล นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ หลักทั่วไป ลักษณะ ๒ บุคคล หมวด ๒ นิติบุคคล ได้บัญญัติเกี่ยวกับนิติบุคคลไว้ตั้งแต่มาตรา ๖๕ – ๑๓๖,๑๑๖๙ โดยมีมาตราที่สาคัญที่ใช้เกี่ยวกับการดำเนินคดีทางอาญามี ดังต่อไปนี้
มาตรา ๖๕ นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
มาตรา ๗๐ ได้บัญญัติไว้ว่า “นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะกำหนดไว้”
มาตรา ๗๑ ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนินกิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของผู้แทนของนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา ๗๒ การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทนของนิติบุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้
มาตรา ๗๓ ได้บัญญัติไว้ว่า “ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อยตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้”
มาตรา ๗๔ ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
มาตรา ๗๕ ถ้ากรณีตามมาตรา ๗๔ เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทนของนิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอจะเป็นองค์ประชุม หรือไม่พอจะกระทำการอันนั้น
๖ ได้ หากกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้น มิได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความในมาตรา ๗๓ มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทนเฉพาะการโดยอนุโลม
มาตรา ๗๖ ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บรรดาบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น
มาตรา ๗๗ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคล และระหว่างนิติบุคคล หรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอก โดยอนุโลม
มาตรา ๑๑๖๙ ได้บัญญัติไว้ว่า “ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทๆ จะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้
อนึ่งการเรียกร้องเช่นนี้ เจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับก็ได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่”
ซึ่งจากหลักกฎหมายดังกล่าวพนักงานสอบสวนจะนำมาพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น และยังรวมไปถึง พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลด้วย โดยพนักงานสอบสวนสามารถตรวจสอบได้จากกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้น ว่าได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างไร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๐ – ๗๕ ก็จะทำให้พนักงานสอบสวนดังกล่าวทราบว่าบุคคลใดเป็นกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น แล้วจะนำมาพิจารณาในการดำเนินคดีตามบทบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะสันนิษฐานใน พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ ซึ่เป็นบทบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะสันนิษฐานให้ผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลต้องรับผิดไว้ก่อน ถึงแม้การสอบสวนจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดไว้ก่อน ถึงแม้
๗ การสืบสวนสอบสวนจะพบว่าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดในฐานะตัวการร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓-๘๖ ก็ตาม
เนื่องจากบริษัทเป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะที่ ๒ หมวดที่ ๒ เรื่องนิติบุคคล กำหนดขึ้น ไม่สามารถกระทำการได้ด้วยตนเองอย่างบุคคลธรรมดา บริษัทจึงต้องมีกรรมการซึ่งเป็น “ผู้แทน” นิติบุคคลขึ้นมากระทำแทน และ เป็นกรณีที่สิทธิหน้าที่ความรับผิดของบริษัทและผู้ถือหุ้นแยกต่างหากจากกัน เพื่อช่วยปกป้อง ผู้ถือหุ้นมิให้ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในกรณีที่บริษัทกระทำความผิดทางอาญา จึงเป็นช่องทางให้มี ผู้ตั้งบริษัทขึ้นบังหน้าหาประโยชน์หรือหลีกเลี่ยงความรับผิดทางอาญา เนื่องจากการที่บริษัทเป็นบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นนี้เอง แม้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะตายหรือเปลี่ยนตัวกันไปเรื่อย ๆ ก็ไม่กระทบถึงความคงอยู่ของบริษัท เว้นแต่จานวนผู้ถือหุ้นจะเหลือน้อยกว่าที่กฎหมายกาหนด ผู้ทำการแทนนิติบุคคล หมายถึงผู้บริหารที่รับผิดชอบในการบริหารและ เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรในกิจการของนิติบุคคล ผลของการกระทำหรือการแสดงออกของ นิติบุคคลจึงต้องกระทำโดยผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๐ ก็ได้บัญญัติให้มีผู้แทนนิติบุคคลขึ้นเพื่อสามารถให้นิติบุคคลแสดงออกโดยผ่านทางผู้แทนนิติบุคคลนั้นเอง ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๓ ก็ได้บัญญัติในกรณีที่ผู้แทนนิติบุคคลว่างลง และมีเหตุว่าอาจเกิดความเสียหายแก่ นิติบุคคล ศาลสามารถแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นได้ การกระทำของนิติบุคคล ย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนของนิติบุคคลนั้นเอง ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นไปได้ที่นิติบุคคลจะกระทำผิดทางอาญาได้โดยผู้แทนไม่รู้เห็น แต่ในทางสืบสวนสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงต้องพยายามแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความรู้เห็น เกี่ยวข้องของผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งโดยข้อเท็จจริงทำได้ยาก เนื่องจากพยานที่จะยืนยันได้ว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลมีส่วนร่วมกระทำความผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓-๘๖ นั้นส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว เช่น ลูกจ้างของนิติบุคคล หรือเครือญาติของ กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล ซึ่งมักจะให้การปกป้องหรือช่วยเหลือพวกเดียวกันเอง และส่วนมากบุคคลดังกล่าวมักจะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย หรืออาจเกรงว่าหากให้ข้อมูลต่อพนักงานสอบสวนตนเองอาจจะถูกไล่ออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ตลอดจนอาจจะถูกประทุษร้ายทางร่างกายหรือถูกฆ่าได้ ด้วยเหตุดังกล่าวรัฐจึงจำเป็นต้องกำหนด บทสันนิษฐานความรับผิดชอบของผู้แทนนิติบุคคล ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำผิด ดังเช่น พระราชกาหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ ได้บัญญัติมีลักษณะสันนิษฐานให้ผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลต้องรับผิดไว้ก่อน ถึงแม้การสืบสวนสอบสวนจะพบว่าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดในฐานะตัวการร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓-๘๖ ก็ตาม
๘ หลักในการพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นผู้แทนนิติบุคคลซึ่งจะต้องรับผิดตามบทสันนิษฐานตามกฎหมาย โดยเฉพาะตาม พระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ ยกตัวอย่างเช่น กรณีคณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการบริษัท ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากกรรมการบริษัทคนอื่นๆ ในการบริหารงานบริษัท และตนก็มีฐานะเป็นกรรมการ หรือผู้แทนอยู่แล้วและตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๖๔ ได้บัญญัติไว้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้แทนของบริษัท (แต่หากคณะกรรมการมอบอำนาจให้ผู้จัดการซึ่งไม่ได้เป็นผู้แทนของบริษัทอยู่แล้วจะเรียกว่า ผู้จัดการ แต่ผู้จัดการนี้ไม่เป็นผู้แทนของบริษัท แต่เป็นตัวแทนทำนิติกรรมผูกพันบริษัทได้ นอกจากนี้แล้ว ในเรื่องห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการถือเป็นผู้แทนด้วย ผู้จัดการอาจมีฐานะเป็นเพียงตัวแทน มิใช่ผู้แทนเหมือนอย่างในเรื่องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนั้น การกำหนดให้ “ผู้จัดการ” รับผิดในกฎหมายประเภทนี้ และน่าจะหมายถึง ผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทด้วย การกำหนดคาว่า “ผู้จัดการ” ในบทสันนิษฐานดังกล่าว จึงใช้กับบุคคลที่มีฐานะเป็นตัวแทนด้วย มิใช่เป็นผู้แทนเพียงอย่างเดียว โดยสรุปแล้ว ผู้แทนนิติบุคคล เป็นผู้มีอำนาจในการจัดการ และหมายความรวมถึงการเป็นผู้แทนอื่นๆ หรือบุคคลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งเป็นบุคคลที่กรรมการผู้จัดการมอบหมาย ให้เป็นตัวแทน ก็อยู่ใน ความหมายของ ผู้แทนนิติบุคคล การพิจารณาว่าอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลมีประการใดบ้าง โดยพิจารณาได้จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้ง หรือในข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งและผู้แทนนิติบุคคล จะต้องกระทำการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง กิจการนั้นจึงจะผูกพัน นิติบุคคล แต่หากผู้แทนนิติบุคคลกระทำการนอกวัตถุประสงค์ดังกล่าวการนั้น ก็จะไม่ผูกพันนิติบุคคล ถึงแม้การกระทำเกินอำนาจตามข้อบังคับนี้เป็นกรณีที่ยังอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ซึ่งบริษัทยังคงมีสิทธิหน้าที่ได้ เพียงแต่การกระทำของกรรมการเกินอำนาจตามข้อบังคับซึ่งเป็นเรื่องการบริหารงานภายในให้ไว้เท่านั้น ดังนั้นเมื่อยังอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ บริษัทจึงยังมีสิทธิที่จะให้สัตยาบัน การกระทำซึ่งเกินขอบอำนาจตามข้อบังคับนั้น หากบริษัทได้ให้สัตยาบันไปแล้ว บริษัทย่อมต้องรับผิดในการกระทำนั้นในการให้สัตยาบันการกระทำซึ่งเกินอำนาจตามข้อบังคับนั้น อาจเป็นการให้สัตยาบันโดยชัดแจ้ง หรือปริยายก็ได้ นอกจากอำนาจของผู้บริหารนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้จัดการจะกระทำการอันมีผลผูกพัน นิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ผู้แทนอื่นๆ หรือผู้มีอำนาจกระทำการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๖ ถือเป็นตัวแทนของผู้จัดการ โดยอาจเป็นตัวแทนในระดับบริหาร หรือระดับล่าง คือ พนักงาน หรือลูกจ้าง ก็อาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวมีคำพิพากษาฎีกาสนับสนุน ดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๑๒-๑๖๑๓/๒๕๑๘ ซึ่งพิพากษาว่า “กรณีที่ผู้แทนของ นิติบุคลได้กระทำการในนามของนิติบุคคลการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายเฉพาะตัวตามที่กฎหมายระบุไว้ ผู้แทนทั้งหลายผู้ลงมือกระทำจะต้องมีความผิดเป็นส่วนตัวด้วย จะอ้างความเป็นผู้แทนนิติบุคคลเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดหาได้ไม่” ซึ่งเป็นไปตามหลักประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ ซึ่งสรุปได้ว่า “เมื่อผู้แทน นิติบุคคลได้กระทำการครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายกล่าวคือมีการกระทำและมี
๙ เจตนาในการกระทำความผิดพร้อมทั้งการกระทำดังกล่าวนั้น แม้ผู้แทนนิติบุคคลจะไม่มีอำนาจกระทำได้ และไม่มีเหตุยกเว้นโทษ ผู้แทนนิติบุคคลก็ต้องรับผิดตามหลักกฎหมายอาญาทั่วไป” ดังนั้นผู้แทนนิติบุคคลต้องรับผิดทางอาญาร่วมกับนิติบุคคล และไม่เป็นเหตุทาให้ผู้แทนนิติบุคคล หลุดพ้นจากความรับผิดทางอาญาที่ตนทาลงไปในฐานะตัวผู้แทนนิติบุคคล และคำพิพากษาฎีกา ที่ ๒๑๑๙/๒๕๒๖ ได้พิพากษาไว้ว่า “พนักงานขายของห้างหุ้นส่วนจำกัดปฏิเสธการจำหน่ายปูนซีเมนต์ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ครบองค์ประกอบความผิด ตามพระราชบัญญัติ กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๐ และกรณีนี้ทำให้หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดไปด้วย ตามข้อสันนิษฐาน ตามมาตรา ๔๗” จะเห็นได้ว่าคำพิพากษาดังกล่าวได้วางหลักกฎหมายไว้ว่า การกระทำความผิดทางอาญาตามบทสันนิษฐานตามกฎหมายของผู้แทน นิติบุคคล ก็ถือว่าเป็นการกระทำของนิติบุคคลและศาลพิพากษาลงโทษนิติบุคคลด้วย ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีผู้บริหารนิติบุคคลคนใดลงมือกระทำความผิดด้วยตนเอง แต่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย ซึ่งเป็นตามพระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ เป็นไปตามหลักทฤษฎีว่าด้วยการไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นนิติบุคคลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๓๕ แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๔๗) ได้บัญญัติ ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๓๙ ได้บัญญัติไว้ว่า “..................ฯ
ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
ก่อนมีคาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อ บุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา ๔๐ ได้บัญญัติไว้ว่า “..................ฯ
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง
๑๐ (๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยและพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครองและความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษควรใช้หลักการดังกล่าวในการสืบสวนสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้กระทำความผิดในรูปแบบของนิติบุคคล โดยหลักการดังกล่าวสรุปได้ ๓ ประเด็น ดังนี้ คือ
๑. ใช้ในการพิจารณาถึงฐานะหรือลักษณะของบริษัทว่าจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจตามที่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นบริษัทกระดาษหรือที่เรียกกันว่าเปเปอร์คอมปานี
๒. ใช้ประกอบการตีความเกี่ยวกับความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งพิจารณาว่า การดำเนินธุรกิจของนิติบุคคลดังกล่าว กระทำไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นที่ไม่สุจริตที่ใช้บริษัทเป็นเครื่องกำบังความรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกหรือไม่
๓. ใช้ในกรณีที่มีการใช้สภาพนิติบุคคลของบริษัทเพื่อฉ้อฉล หรือเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดด้านกฎหมายอาญาต่างๆ ทั้งนี้เป็นการพิจารณาหาตัวผู้ต้องรับผิดตามกฎหมายที่แท้จริง โดยพิจารณาจากวัตถุที่ประสงค์หรือเจตนาของบุคคลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังบริษัทนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในคดีที่จะต้องทำการรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ และผู้ต้องหามีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓๙,๔๐ ที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรมและการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองและมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ อีกทั้งในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ แล้วจะมีการสันนิษฐานความผิดของบุคคลในทางอาญาไม่ได้ เพราะความรับผิดทางอาญาของบุคคลมีหลักอยู่ว่าภาระพิสูจน์เป็นของโจทก์หรือของรัฐที่จะนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควร ว่าได้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ดังนั้น ข้อสันนิษฐานความ
๑๑ รับผิดทางอาญาของบุคคลในลักษณะนี้มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างได้เสมอ และภาระการพิสูจน์ของจำเลยในการพิสูจน์หักล้างนี้เป็นการพิสูจน์โดยพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมากกว่า และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ คือ บทสันนิษฐานว่า “บุคคลทุกคนสุจริต” ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐาน ไม่ว่าข้อสันนิษฐานเด็ดขาดหรือไม่เด็ดขาด จึงต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะการพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวกระทำความผิดหรือไม่ โดยพิจารณาระหว่างการกระทำและผลของข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว
ความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติเอาผิดต่อ กรรมการหรือผู้จัดการหรือบุคคลซึ่ง รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่บุคคลใดเมื่อกระทำการอันเป็นความผิดอาญาแล้ว ก็จะต้องถูกดำเนินคดีและรับโทษตามกฎหมายและหากบุคคลอื่นในฐานะกรรมการของนิติบุคคล ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดด้วยแล้วได้ถูกกล่าวหาดำเนินคดีร่วมไปด้วยกับกรรมการที่เป็นผู้กระทำ ความผิดจึงไม่น่าจะถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมไว้ว่า บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ ความผิดมิได้
จากหลักกฎหมายดังกล่าวในภายหลังฝ่ายนิติบัญญัติได้มีการแก้ไขหรือออกกฎหมายที่มีโทษทางอาญาโดยเฉพาะในบทสันนิษฐานความรับผิดในกรณีที่ผู้กระทำความผิด เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ การกระทำหรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ ของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับ โทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับ ความผิดนั้นๆด้วย ดังปรากฏในกฎหมายหลายฉบับ อาทิเช่น พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑๔ ที่บัญญัติสรุปได้ว่า “กรณีผู้กระทำผิดซึ่งต้องรับโทษ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ผู้ดำเนินกิจการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดสาหรับความผิดนั้นๆด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย” โดยมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๕๘/๒๕๔๖ ที่พิพากษาสรุปได้ว่า “โจทก์ฟ้องและดำเนินคดีแก่บริษัทรุ่งชัยอะไหล่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นจาเลยที่ ๑ และนาง ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทดังกล่าวเป็นจำเลยที่ ๒ ดังนั้นที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นระบุชื่อจำเลยที่ ๑ ในช่องคู่ความว่า บริษัท ร. จำกัด จึงเป็นกรณีการพิมพ์ผิดพลาดซึ่งชอบที่จะแก้ไขได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตารา ๑๙๐ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจที่จะแก้ไขคาพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ถูกต้องดังกล่าว ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ดังโจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ โดยไม่ต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑๔ อีก แม้จำเลยที่ ๑ จะเป็นนิติบุคคลและจำเลยที่ ๒ เป็น
๑๒ กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทก็ตาม หรือตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๖ ซี่งบัญญัติบทสันนิษฐานในทำนองเดียวกัน ซึ่งมีคาพิพากษาฎีกาสนับสนุนดังนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๐๗/๒๕๔๙ พิพากษาสรุปได้ว่า “การกระทำของบุคคลใดจะเป็นความผิดและต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๕ นั้น จะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่ว่า บุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วย เมื่อคดีโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ ๑ เคยเป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ ๒ จำเลยที่ ๓ เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจาเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ ๕ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ ๔ เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการ หรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีคาฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบ ความผิด เป็นคาฟ้องที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา ๒๖ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ (๕)
โดยเฉพาะในความผิดตาม พระราชกำหนดกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ ที่บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดนี้ เป็นนิติบุคคลกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ความ ในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลด้วย
โดยศาลไทยได้นำหลักกฎหมายดังกล่าวมาใช้ในพิจารณาพิพากษาคดี โดยปรากฏจากคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๗๓/๒๕๔๖ สรุปได้ว่า “โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ , ๓๔๓ , ๘๓ , ๙๑ พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ , ๕ , ๙ , ๑๒ , ๑๕ ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงินจำนวน ๔,๕๐๓,๐๐๐ บาท แก่ผู้เสียหาย พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๘ ต่อปี นับแต่วันลงทุนจนกว่าจะคืนต้นเงินเสร็จ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ , ๑๒ จำคุกคนละ ๕ ปี คำเบิกความของจำเลยทั้งสี่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คนละหนึ่งในสาม คงจำคุกคนละ ๓ ปี ๔ เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคาพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิพากษาสรุปได้ว่า “ข้อเท็จจริงไม่ได้ความจากผู้เสียหายว่า จำเลยทั้งสี่เป็นผู้ร่วมกันโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนว่าในการกู้ ยืมเงิน
๑๓ ของสมาชิกนั้น บริษัท ค. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตาม กฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างของบริษัท ค. สามีของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติใส่ชื่อจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ค. แทน ก่อนจำเลยที่ ๑ จะถอนชื่อออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ค. จำเลยที่ ๑ ไม่ทราบการดำเนินการของบริษัท ค. จึงฟังได้ว่า การลงทุนของผู้เสียหายมิได้เกิดจากการโฆษณาหรือประกาศชักชวนของจำเลยทั้งสี่ โดยตรง จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตาม พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ , ๑๒” ซึ่งศาลได้นำหลักกฎหมายการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ ซึ่งจะมีการสันนิษฐานความผิดของบุคคลในทางอาญาไม่ได้ เพราะความรับผิดทางอาญาของบุคคลมีหลักอยู่ว่าภาระพิสูจน์เป็นของโจทก์หรือของรัฐที่จะนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมควร ว่าได้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ดังนั้น ข้อสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของบุคคลในลักษณะนี้มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างได้เสมอ และภาระการพิสูจน์ของจำเลยในการพิสูจน์หักล้างนี้เป็นการพิสูจน์โดยพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมากกว่า และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ คือ บทสันนิษฐานว่า “บุคคลทุกคนสุจริต” ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐาน ไม่ว่าข้อสันนิษฐานเด็ดขาดหรือไม่เด็ดขาด จึงต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะการพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวกระทำความผิดหรือไม่ โดยพิจารณาระหว่างการกระทำและผลของข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว ความรับผิดตามที่กฎหมายบัญญัติเอาผิดต่อกรรมการหรือผู้จัดการหรือบุคคลซึ่ง รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่บุคคลใดเมื่อกระทำการอันเป็นความผิดอาญาแล้ว ก็จะต้องถูกดำเนินคดีและรับโทษตามกฎหมายและหากบุคคลอื่นในฐานะกรรมการของนิติบุคคล ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดด้วยแล้วได้ถูกกล่าวหาดำเนินคดีร่วมไปด้วยกับกรรมการที่เป็นผู้กระทำ ความผิดจึงไม่น่าจะสอดคล้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมไว้ว่า บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ ความผิดมิได้
บทส่งท้าย จากการที่ผู้เขียนตรวจสอบสำนวนที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาจะพบว่า สาเหตุที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกคน หรือสั่งฟ้องผู้ต้องหาบางคนและสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาบางคน หรือฟ้องไปแล้วศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยทุกคน หรือลงโทษจำเลยบางคนยกฟ้องจำเลยบางคน สาเหตุส่วนใหญ่ที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลยกฟ้อง ถึงแม้พนักงานสอบสวนจะอ้าง พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ และพนักงานอัยการจะฟ้องจำเลยต่อศาล โดยพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
๑๔ พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๑๕ เพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษ นิติบุคคล กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลอื่นใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเพื่อให้รับโทษตามที่บัญญัติไว้สาหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย และอาจมีการฟ้องพนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคล ซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลด้วยก็ตาม หากการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน ไม่สามารถทำให้พนักงานอัยการ หรือศาลเห็นได้ว่า
๑. ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีเจตนาทุจริตในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
๒. ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นตัวการร่วม ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยมีพฤติการณ์แบ่งแยกหน้าที่กันทำ และพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยดังกล่าวมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
๓. คดีดังกล่าวไม่ใช่เป็นมูลคดีทางแพ่ง เช่น ผิดสัญญาทางแพ่งในเรื่องซื้อขาย, ผิดสัญญาเช่าซื้อ, ผิดสัญญาจำนอง, ผิดสัญญากู้เงิน, ผิดสัญญาตัวแทน, ผิดสัญญานายหน้า, ผิดสัญญาตั๋วเงิน, ผิดสัญญาเล่นแชร์, ผิดสัญญาจ้างทำของ และผิดสัญญารับขน แต่เป็นมูลคดีทางอาญา
๔. มีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และต้องระบุว่าการกระทำใดเป็นข้อความเท็จ หรือเป็นการหลอกลวง และต้องไม่เป็นการขัดแย้งกันเองแล้ว
๕. พยานหลักฐานในสำนวนไม่ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ – ๒๒๖/๕
เพราะมิฉะนั้นแล้วในการรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาของศาลตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ – ๒๒๗/๑ หลักเกณฑ์ที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้นั้น ศาลต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงแล้วเห็นว่า
(๑) มีความผิดเกิดขึ้นจริง และ
(๒) จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
เพราะมิฉะนั้นแล้วศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่
หากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษสามารถสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถกระทำได้ แล้วสามารถพิสูจน์ให้พนักงานอัยการ และหรือศาลให้เห็นความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ ก็คงไม่เกิด
๑๕ ปัญหาที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา หรือศาลยกฟ้องจำเลยในคดีตามที่กล่าวมาข้างต้น และในการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานพนักงานสอบสวนจะต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนในกระบวนยุติธรรมทางอาญา สิทธิมนุษยชนในกระบวนยุติธรรมทางอาญา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒,๓๕,๓๙,๔๐ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘, ๑๐๘/๑, ๑๓๔ โดยสรุปการคุ้มครองสิทธิ มีดังนี้คือจะต้องสอบสวนด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย มีความรวดเร็วไม่ล่าช้าเพื่อกลั่นแกล้งผู้ต้องหาหรือจำเลย และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายทั้งผู้เสียหาย,ผู้ต้องหาและพยานบุคคลในคดี หากพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ โอกาสผิดพลาดในการทำสำนวนการสอบสวนก็คงจะไม่เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นการพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมที่ถือว่าพนักงานสอบสวนเป็นต้นกระบวนของสายธารยุติธรรม หากสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้แล้ว ก็จะเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้ในอนาคต
พันตำรวจโทพันเลิศ ตั้งศรีไพโรจน์
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชำนาญการพิเศษฯ
ปฏิบัติราชการ กลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๓