ทิศทางและนโยบายการดำเนินงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในปี พ.ศ.2558 และรายงานสถิติผลการดำเนินคดีพิเศษในรอบปี พ.ศ.2557

published: 18/12/2557 16:54:57 updated: 18/12/2557 16:54:57 1294 views   TH
 

ทิศทางและนโยบายการดำเนินงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ในปี พ.ศ.2558 และรายงานสถิติผลการดำเนินคดีพิเศษในรอบปี พ.ศ.2557

 

                  ในวันนี้ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวถึงทิศทางและนโยบายการดำเนินงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษในปี พ.ศ.2558 และรายงานสถิติผลการดำเนินคดีพิเศษในรอบปี พ.ศ.2557 ในงาน DSI meets the press ครั้งที่ ๑ ว่า เจตนารมณ์การก่อตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ นั้น เพื่อเป็นหน่วยงานทื่ทำหน้าที่ในการป้องกัน การปราบปราม การสืบสวน และการสอบสวนคดีความผิดทางอาญาที่ต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนโดยใช้วิธีการพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเป็นคดีสำคัญที่มีความซับซ้อน หรือมีผลกระทบต่อประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การคลัง ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นผู้เกี่ยวข้องในการกระทำผิด หรือเป็นคดีอาญาที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังนั้น โดยกฎหมายเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอต้องเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญระดับประเทศ

                   ที่ผ่านมา สังคมอาจเกิดความสงสัยในบทบาทภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เนื่องจากคดีที่รับมาเป็นคดีพิเศษมีความหลากหลาย ในฐานะที่มารับตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวน
คดีพิเศษ ก็มีความตั้งใจที่จะบริหารกรมเพื่อดังอัตลักษณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษกลับคืนมาให้สังคมได้ประจักษ์

                   สำหรับวิสัยทัศน์และแนวคิดในการบริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้น อันที่จริง  กรมสอบสวนคดีพิเศษก็มีวิสัยทัศน์ของหน่วยงานอยู่แล้วคือ “เป็นองค์กรชั้นนำด้านการสืบสวนสอบสวนที่มีมาตรฐานในระดับสากล และได้รับความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม”

                   จากการเข้ามาทำงานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ๑ เดือนเศษ พบว่างานของกรมสอบสวนคดีพิเศษมีความสำคัญ และหลากหลาย คดีแต่ละประเภทก็เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศในด้านต่างๆ  ทิศทางที่ต้องการนำพากรมสอบสวนคดีพิเศษให้สังคมเข้าใจคือ (1) การทำงานที่เป็นมาตรฐาน โดยเน้นให้ความสำคัญในกระบวนการดำเนินคดีที่มีความโปร่งใส ในการสอบสวนต้องเป็นไปตามกฎหมายคือพิสูจน์ทั้งความผิดและความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา ในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ก็ต้องมีความเป็นมาตรฐาน การได้มาของพยานหลักฐานมีความชัดเจน โปร่งใส และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และเมื่อทำข้อ (1) ก็จะเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม และเมื่อทำต่อเนื่องก็จะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของสังคม ข้อ (2) คือความเชื่อมั่นก็จะมาเอง

                   ทั้งนี้ ในบทบาทของอธิบดีก็จะขับเคลื่อนองค์กรผ่านผู้บริหารระดับต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว ผลสุดท้ายกรมก็จะเป็นที่พึ่งของประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง

                   สำหรับแนวทางการรับคดีที่ผู้มาร้องขอให้เป็นคดีพิเศษนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษมีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว เนื่องจากการเป็นคดีพิเศษต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 ดังนั้นเมื่อรับคำร้องเข้ามาจะเข้าสู่การพิจารณาเสียก่อนว่าเรื่องนั้นๆเป็นคดีพิเศษหรือไม่

                   ในขั้นตอนนี้ ศูนย์บริหารคดีพิเศษจะทำหน้าที่ในการตรวจข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเบื้องต้น หากข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน ก็จะมอบหมายให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นไปตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือสืบสวน แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็จะพิจารณาส่งต่อเรื่องไปยังหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับไปดำเนินการ และจะมีการแจ้งให้ผู้ร้องทราบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับเรื่อง การมอบหมายให้หน่วยงานภายในดำเนินการ หรือแม้แต่การส่งเรื่องไปยังหน่วยงานภายนอก ก็จะแจ้งให้ผู้ร้องทราบ และสำเนาหนังสือที่ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานภายนอกแนบไปด้วย

                   ปัจจุบัน คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีจำนวนมาก และหลากหลาย จากสถานภาพคดีล่าสุด ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2557 เรามีคดีพิเศษสะสมทั้งหมด 1,815 คดี ที่สอบสวนเสร็จไปแล้ว จำนวน  1,502 คดี และอยู่ระหว่างการสอบสวน จำนวน 313 คดี นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่อยู่ระหว่างการสืบสวนอีก จำนวน 291 คดี ซึ่งทุกเรื่อง เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

                  สำหรับภาพลักษณ์กรมสอบสวนคดีพิเศษก่อนหน้านี้ที่ประชาชนบางส่วนอาจมอบในแง่ลบบ้าง โดยส่วนตัวเห็นว่าภาพลักษณ์ส่วนหนึ่งเกิดจากแนวทางการรับคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ไปรับเรื่องเล็กๆที่ไม่สมควรเป็นคดีพิเศษมาเป็นคดีพิเศษ กับภาพลักษณ์ที่ไปทำคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองจนเป็นที่ถูกวิภาควิจารณ์ ซึ่งวิธีส่งเสริมภาพลักษณ์นั้น ในเบื้องต้นดำเนินการ  ไปแล้วดังนี้

                   (1) ได้วางระเบียบกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการรับ
คดีพิเศษที่อยู่ในอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง ซึ่งปัจจุบันมี 36 กฎหมาย เช่น คดีแชร์ลูกโซ่ คดีเกี่ยวกับการฮั้วประมูล คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น โดยกำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะพิจารณาและเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อลดดุลยพินิจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในการใช้อำนาจสั่งรับคดีพิเศษ ซึ่งจะทำให้มีการกลั่นกรองเสนอทั้งข้อเท็จจริงของคดี และเหตุผลตามกฎหมายที่สมควรรับเป็นคดีพิเศษว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ จะทำให้การรับคดีมีความโปร่งใส ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

                   (2) เรื่องที่จะเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษเพื่อพิจารณารับคดีพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กฎหมายให้อำนาจกรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการได้เอง จะต้องเสนอเรื่องผ่านอนุกรรมการคดีพิเศษที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน คือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หากไม่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดก็จะไม่เสนอให้เป็นคดีพิเศษ

                   (3) เน้นความโปร่งใสของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หากมีกรณีร้องเรียนกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการดำเนินคดี ก็จะพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย และหากพบการกระทำผิดจริงก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ไม่ปกป้องผู้กระทำผิด

                   ในขั้นต่อไปจะศึกษาแนวทางปรับปรุงกฎหมายเพื่อลดการแทรกแซงทางการเมือง ในการบริหารงานบุคคลของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อฝ่ายการเมืองไม่สามารถแทรกแซงการบริหาร   บุคคลได้ และมีระบบการดำเนินคดีที่เข้มแข็ง ก็จะทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง

 

โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ช่วยโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษก

 

ลำดับที่

ชื่อ - สกุล

ตำแหน่ง

โทร.

1

พันตำรวจโทไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์

ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์
เป็นโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ

084-7001772

2

พันตำรวจตรีวรณัน ศรีล้ำ

ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษ
เป็นรองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ           

081-6841152

3

นางสาวสุชยา โมกขเสน

นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
เป็นผู้ช่วยโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ           

083-0350191

4

นางอุมาพร แพรประเสริฐ

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

089-7857824

5

ร้อยตำรวจโทพัตเนตร รามางกูร

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

-

6

นางสาวหทัยรัตน์ นาคศิลป์

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

085-9036281

7

นางนนท์นที โตเขียว

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

089-6420055

8

นายยศสันธ์ เรืองสรรงามสิริ

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

-

9

นายสมเกียรติ เพชรประดับ

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

-

10

นายพรเทพ สาระสิริ

เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
เป็นเจ้าหน้าที่ประจำคณะโฆษกฯ

-

 

ส่วนช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์

 

1

นายวิทยา วิทยพันธ์

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ
ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์

084-7516522

 

กรมสอบสวนคดีพิเศษกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

 

          ขณะนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

          ในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในคดีการค้ามนุษย์ที่เป็นคดีพิเศษ ซึ่งมีทั้งการบังคับใช้แรงงานและบังคับค้าประเวณี ล่าสุดกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ (ศคม.) ได้รับคดีการบังคับหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงานในเรือประมงในน่านน้ำของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นคดีพิเศษ เนื่องจากคดีดังกล่าวมีการดำเนินการเป็นขบวนการ มีลักษณะการกระทำความผิดข้ามชาติที่สำคัญ และด้วยคดีดังกล่าวมีความผิดส่วนหนึ่งกระทำลงนอกราชอาณาจักร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงได้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๐ ซึ่งต่อมาอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีนี้ และมอบหมายให้พนักงานอัยการมาร่วมสอบสวน นอกจากนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ระหว่างการขอให้เจ้าพนักงานตำรวจ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์มาร่วมปฏิบัติงานกับคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษด้วย เพื่อทำงานเชิงบูรณาการ

          จนถึงขณะนี้จากการคัดแยกผู้เสียหายโดยทีมงานสหวิชาชีพและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษพบว่ามีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในคดีนี้รวม ๗ ราย โดยได้แยกคดีออกเป็นคดีพิเศษรวม ๔ คดี (เนื่องจากบางรายเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ) อยู่ระหว่างสืบสวนสอบสวนควบคู่กันไป นอกจากนี้คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษยังประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กรมเจ้าท่า กรมประมง รวมทั้งองค์กรภาคเอกชน (NGO) อย่างใกล้ชิด คาดว่าในไม่ช้าจะสามารถรวบรวมพยานหลักฐานขอออกหมายจับผู้กระทำความผิดกลุ่มแรกได้

          ที่ผ่านมาปัญหาการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในเรือประมงส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของประเทศไทย ดังนั้น การดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างจริงจังมีประสิทธิภาพเชื่อว่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

-------------------------------------------------

กรณีการบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ

และในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก – เขาเมือง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

                   กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับการร้องเรียนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่ามีการบุกรุกยึดถือ ครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ และในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก – เขาเมือง ตำบลสาคู และตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้เกี่ยวข้องทั้งเอกชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันออกเอกสารสิทธิที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยที่รู้ข้อเท็จจริงว่าเป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิใดๆได้ ครั้งแรกมีจำนวน ๑๐ ราย และมีการเพิ่มเติมในที่ประชุมอีก ๔ ราย รวมเป็น ๑๔ ราย มีทั้งที่เป็นบุคคล และบริษัทผู้ประกอบการขนาดใหญ่    โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตั้งคณะทำงานเพื่อสืบสวนเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด และได้ดำเนินการสืบสวนไปแล้วจำนวน ๔ ราย

                    เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ กรมอุทยานฯ ได้ทำหนังสือมาอีกครั้งหนึ่ง ขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเรื่องการบุกรุกที่ดินในเขตอุทยานฯเป็นคดีพิเศษ โดยแจ้งว่าได้มีการออกเอกสารสิทธิในเขตอุทยานฯ ประมาณ ๓๗๙ แปลง ประมาณ ๒,๗๔๓ ไร่ เพื่อปลูกสร้างโรงแรม รีสอร์ท อาคารที่พัก โดยนักลงทุนรายใหญ่ และผู้มีอิทธิพล มีลักษณะร่วมกันทำเป็นกระบวนการ ซึ่งกรมสอบสวน
คดีพิเศษได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอ กคพ. เพื่อขอพิจารณาเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และได้รับอนุมัติให้เป็นคดีพิเศษ

                    เบื้องต้นจากการสืบสวนผู้ครอบครองเอกสารสิทธิ ๔ แห่ง ได้แก่

๑.โครงการบ้านพักตากอากาศซึ่งมีการใช้หลักฐานที่ดินเดิม (ส.ค.๑) เพียง ๒๐ ไร่ และนำมาขยายพื้นที่เพิ่มเติมหลายครั้ง ได้เนื้อที่ส่วนเกินประมาณ ๑๐๐ ไร่ ซึ่งเนื้อที่ส่วนที่เกินมาพบว่าในปี ๒๕๑๐ มีสภาพเป็นป่า จึงไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค.๑ ดังกล่าว และยังออกในที่ดินที่เป็นที่เขาหรือภูเขาต้องห้ามตามกฎหมายที่ดิน ทราบว่ากรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาเพิกถอนส่วนที่เกินแล้ว

๒.โรงแรมแห่งหนึ่งที่มีการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และที่เขาหรือภูเขาโดยไม่มีหลักฐานที่ดินเดิม ต้องห้ามตามกฎหมายที่ดิน และบางส่วนมีหลักฐานที่ดินเดิม แต่ไม่ได้ตั้งคณะกรรมการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๓ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินเป็นโฉนดจำนวน ๖ แปลง น.ส.๓ ก. จำนวน ๒ แปลง และ น.ส. ๓ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่รวมกันประมาณ ๕๓ ไร่เศษ

๓.ที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๔๒๐๕๓ และ ๔๒๐๕๔ เนื้อที่รวมกันประมาณ ๒๐๐ ไร่ สภาพปัจจุบันเป็นป่าทั้งแปลง เป็นที่เขาติดทะเล พบว่ามีการปลอมหลักฐาน ส.ค.๑ โดยหลักฐาน ส.ค.๑อยู่คนละตำแหน่งกับที่เกิดเหตุ

๔.ที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๓๘๑๑๒ และ ๓๘๑๑๓ เนื้อที่ประมาณ ๘๖ ไร่เศษ สภาพปัจจุบันเป็นป่าทั้งแปลง เป็นที่เขาติดทะเล พบว่ามีการปลอมหลักฐาน ส.ค.๑ โดยหลักฐาน ส.ค.๑ อยู่คนละตำแหน่งกับที่เกิดเหตุ

                      พฤติกรรมทั้งหมดมีการทำเป็นขบวนการ มีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งข้าราชการและเอกชนที่เป็นเจ้าของที่ดินมือแรก เป็นการกระทำที่มีมูลความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ ,ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ,พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ,พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ สำหรับความผิดต่อเจ้าพนักงาน ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๕๗ จะได้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. รับไปดำเนินการไต่สวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

                      แผนการดำเนินงานต่อไปของกรมสอบสวนคดีพิเศษ

๑.ตรวจสอบพื้นที่บุกรุกฯ จากกรมอุทยานฯ ร้องขอ จำนวน ๑๔ ราย

๒.ตรวจสอบพื้นที่บุกรุกฯ เพิ่มเติมโดยการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ ครอบคลุมพื้นที่อุทยานแหงชาติสิรินาถ โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อวิเคราะห์แปลงที่ดินที่เชื่อว่ามีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ

๓.ตรวจสอบพื้นที่บุกรุกฯ จากรายงานการตรวจสอบ และการเสนอเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน ของกรมที่ดิน

 

***************************