กรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบรางวัลบุคคลหรือหน่วยงานทำคุณประโยชน์ ยกย่องข้าราชการดีเด่น เชิดชูสำนวนการสอบสวนดีเลิศ และมอบทุนบุตรเจ้าหน้าที่

published: 4/10/2566 14:13:29 updated: 4/10/2566 17:12:35 1529 views   TH
 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบรางวัลบุคคลหรือหน่วยงานทำคุณประโยชน์ ยกย่องข้าราชการดีเด่น เชิดชูสำนวนการสอบสวนดีเลิศ และมอบทุนบุตรเจ้าหน้าที่


            วันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดงานมอบรางวัลบุคคลหรือหน่วยงาน

ทำคุณประโยชน์ ยกย่องข้าราชการดีเด่น เชิดชูสำนวนการสอบสวนดีเลิศ และมอบทุนบุตรเจ้าหน้าที่ ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ ห้องรับรองกรมสอบสวนคดีพิเศษ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ

            โดยพิธีมอบรางวัลบุคคลหรือหน่วยงานทำคุณประโยชน์ เป็นการเชิดชูเกียรติหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่ทำคุณประโยชน์ และสนับสนุน ให้การช่วยเหลือภารกิจด้านการสืบสวนสอบสวน ของกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ได้นำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มาช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์สู่สาธารณชน จำนวนทั้งสิ้น 27 หน่วยงาน ได้แก่

1. นางสาวสุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

2. นายยุทธนา หยิมการุณ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง

3. นายกุลธนิต มงคลสวัสดิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด

4. นายสุรเชษฐ คล้ายแจ้ง ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ กรมการขนส่งทางบก

5. พลเรือโท อมรโชติ สุจิรัตน์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เสนาธิการกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3

6. นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด

7. นายเวชยุทธ แสงประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

8. นายสุนทรา พลไตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด

9. นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการสูงสุด

10. นายแอนดรูว์ วสุวงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิไอเจเอ็ม (International Justice Mission)

11. นางสาวปวีณา ศรีโพธิ์ทอง รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

12. นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

13. นายมหิดล อินใย ผู้อำนวยการกองธรรมาภิบาลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

14. นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน

15. ร้อยตำรวจเอก โชคชัย สิทธิผลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน

16. Mr.Nathan Davis (เนธาน พอล เดวิส) ผู้อำนวยการองค์การ โอ.ยู.อาร์. ประเทศไทย

17. นางสาวพัทธนันท์ บุญคง รองผู้อำนวยการกิจการเพื่อสังคม MAST Human Social Enterprise

18. นายโชติพันธ์ จุลเพชร นักสืบสวนสอบสวนเชี่ยวชาญ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

19. ดร.อณูวรรณ วงศ์พิเชษฐ์ รองผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)

20. นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย

21. นางสาวจำรัส ช้อยจินดา ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาษีกลาง กรมสรรพากร

22. นายสุริยศักดิ์ เหมือนอ่วม ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนราษฎร สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

23. พันเอกหญิง กฤษณี วิเชียรรัตน์ สังกัด กองทัพบกจิตอาสา 904 หลักสูตรหลักประจำ รุ่นที่ 1/61

“เป็นเบ้า เป็น แม่พิมพ์” รหัส B - 035

24. นางสาวณฐิณี สงกุมาร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบราชการ 2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี

25. พ.อ.สมศักดิ์ นุตพันธุ์ รองผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่/รองประธานกรรมการ สถานีวิทยุกระจายเสียงศูนย์การทหารปืนใหญ่

26. นายลักษมัน ซิงห์ นายกสมาคมอินเดีย

27. นายดำรงเกียรติ พินิจการ สมาชิกสภาเมืองพัทยา

            ส่วนพิธีมอบรางวัลบุคคลต้นแบบ “คนดี ดีเอสไอ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นการยกย่องและส่งเสริมข้าราชการและบุคลากรที่เป็น “คนเก่ง คนดี” สมควรที่จะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนและปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม มีความประพฤติที่เหมาะสมสอดคล้องกับจรรยาข้าราชการจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และระเบียบแบบแผน

ของทางราชการ กับทั้งมีผลงานหรือการปฏิบัติงาน ที่ได้รับการยกย่องว่าดีเด่น เป็นที่ยอมรับ และเป็นประโยชน์

ต่อทางราชการ ประชาชน สังคม และประเทศชาติ

            สำหรับรางวัล “สํานวนการสอบสวนคดีพิเศษที่เป็นเลิศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” เป็นรางวัลที่เชิดชูเกียรติหน่วยงานที่มีความมุ่งมั่นในการสอบสวนและทำสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษ ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และคำนึงถึงประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษ ดังนี้

* ส่วนที่ 1 พิจารณาจากความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ของการดำเนินการบริหารงานคดีให้เป็นไปตามระเบียบกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าด้วยการบริหารงานคดีพิเศษ พ.ศ. 2562

* ส่วนที่ 2 พิจารณาจากความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ของการดำเนินการสอบสวนและการทำสํานวนการสอบสวน

* ส่วนที่ 3 พิจารณาจากความสามารถในการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ

            โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานที่ได้รับรางวัล “สํานวนการสอบสวนคดีพิเศษที่เป็นเลิศ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จำนวนทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน ดังนี้

1. กองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ระดับดีเลิศ

2. กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ระดับดีเด่น

3. กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน ระดับดี

4. กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา ระดับชมเชย

5. กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ ระดับชมเชย

            ส่วนรางวัล “หน่วยงานต้นแบบที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใส (Best Practice : BP) กรมสอบสวน

คดีพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” มีหน่วยงานในสังกัดผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวนทั้งสิ้น 8 หน่วยงาน ได้แก่

* ระดับดีเด่น จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่

   * กองบริหารคดีพิเศษ

   * กองนโยบายและยุทธศาสตร์

   * กองกฎหมาย

* ระดับดี จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่

   * กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ

   * กองคดีภาษีอากร

   * กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

* ระดับชมเชย จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่

   * กองคดีการค้ามนุษย์

   * ศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว

            สำหรับพิธีมอบทุนการศึกษาบุตรของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวนทั้งสิ้น 20 ทุน เป็นทุนการศึกษาที่ท่านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาบุตรของเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้มีดำริ ให้มีการประกาศรับสมัครผู้ขอเข้ารับทุนการศึกษา ซึ่งผู้ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ จะได้รับทุนส่งเสริมการศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 20 ทุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ทุนสนับสนุนการศึกษา มีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป ทุนละ 5,000 บาท จำนวน 15 ทุน

2. ทุนเรียนดี มีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 5 ทุน


Documents related

Lasted Post

Related Post