DSI ร่วมกับ กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดยุทธการตรวจค้นล้งกุ้งพื้นที่สมุทรสาคร เพื่อช่วยเหลือแรงงานชาวเมียนมา และขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุกของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

published: 10/11/2558 14:02:21 updated: 10/11/2558 14:02:21 1233 views   TH
 

                  

                     วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น.พลเรือโทรังสฤษดิ์  สัตยนุกูล  ผู้อำนวยการ ศรชล. เขต ๑ และผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๑ , ันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายแมนรัตน์  รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ายปฐม  เพชรมณี รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  ได้เดินทางมาบัญชาการเหตุการณ์ และสั่งการให้ พันตำรวจเอกอัครพล บุณโยปัษฎัมษ์ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านการค้ามนุย์ และ ันตำรวจโทคมวิชช์ พัฒนรัฐ ผู้อำนวยการ ๑ กับพวก สนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารเรือของ ศรชล.เขต ๑ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPNและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจค้นโงงานแปรรูปสัตว์นำ้ซึ่งเป็นล้งกุ้งและล้งปลา ตามหมายค้นของศาลจังหวัดสมุทรสาคร ที่ ค. ๔๒๒/๒๕๕๘  และหมายค้น ที่ ค.๔๒๓/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เพื่อช่วยเหลือแรงงานชาวเมียนมา ที่ถูกบังคับให้ทำงานในล้งกุ้งไม่มีชื่อ เลขที่ ๒๐๙/๑๓ ถนนเดิมบาง ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และล้งปลาไม่มีเลขที่ซึ่งตั้งอยู่ติดกันโดยเบื้องต้นเกิดจากการร้องเรียนของชายชาวเมียนมา ที่เคยทำงานอยู่ที่ล้งกุ้งแล้วหลบหนีออกมา แต่ภรรยาถูกติดตามนำตัวกลับไปล้งกุ้งดังกล่าว

ทั้งนี้สืบเนื่องจากรัฐบาลได้มอบหมายให้ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ทำการตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ เพื่อตรวจตรวจสภาพการทำงาน ที่ผิดกฎหมาย การใช้แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ในโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่ง ศปมผ.ได้กำหนดเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไปนการนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สืบสวนหาข่าวเกี่ยวกับภารกิจของ ศปมผ.ดังกล่าว โดยจากการสืบสวนรวมรวมข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนภารกิจดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดมา 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำการสืบสวนจนพบโรงงานที่ถูกร้องเรียนดังกล่าว พบว่ามีคนงาน    ต่างด้าวชาวเมียนมาจำนวนมาก โยมีแรงงานบางส่วนเป็นแรงงานที่หลบหนีเข้าเมือง ไม่มีใบอนุญาตทำงาน       ที่ถูกต้อง และอยู่ในสภาพการทำงานที่ตรากตรำทำงานวันละประมาณ ๑๖ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๐๒.๐๐ น. จนถึง เวลา ๑๘.๐๐ น.ของวันรุ่งขึ้น และได้รับค่าแรงงานประมาณหนึ่งพันกว่าบาท ต่อ ๑๐ วัน โดยจะมีคนงานชาวเมียนมา และยามของโรงงาน คอยดูแล ข่มขู่ไม่ให้หลบหนีหรือเปลี่ยนงานไปที่ใด และจะมีการหักหนี้สินจากนายหน้า โดยไม่มีการแจ้งรายละเอียดว่าหนี้สินอะไร และคงเหลือเงินเท่าไร ดังกล่าว เป็นโรงงานล้งกุ้งเลขที่ ๒๐๙/๑๓ ถนนเดิมบาง  ำบลมหาชัย อำเภอเมืองังหวัดสมุทรสาคร 

๑.จากการตรวจค้นโรงงานล้งกุ้งดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้พบแรงงานทั้งสิ้น ๘๐ คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

    ๑.๑ แรงงานด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี  ๑คน (ซึ่งมีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จำนวน ๒ คน

     ๑.๒ แรงงานบังคับและไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง จำนวน  คน 

     ๑.๓ แรงงานที่ทำงานถูกต้องแต่ถูกยึดเอกสารประจำตัวไว้ จำนวน ๑ คน

                           ๑.๔ กลุ่มที่น่าจะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จำนวน ๑๓ คน

๒.การตรวจค้นล้งปลาซึ่งอยู่ติดกัน  เจ้าหน้าที่ได้พบแรงงานทั้งสิ้น ๑๗ คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

    ๒.๑. แรงงานเด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี ๑ คน

    ๒.๒ แรงงานผิดเงื่อนไขการทำงาน ๑คน

    ๒.๓ แรงงานที่ใบอนุญาตถูกต้อง ๒ คน

 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการช่วยเหลือผู้ที่ไม่สมัครใจและเด็กทั้งหมดออกมา รวมทั้งติดตามตัวผู้หญิงที่สามีชาวเมียนมา ได้ร้องขอจนพบตัวได้อย่างปลอดภัยแล้ว จึงนำทั้งหมดส่งมอบให้พนักงานสอบสวนและทีมสหวิชาชีพ ทำการสัมภาษณ์และคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมทั้งดำเนินการขบวนการกระทำความผิดตามกฎหมาที่เกี่ยวข้อง  อาทิเช่น ..บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  พ..บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ต่อไป

อนึ่ง จากการสนธิกำลังและร่วมตรวจค้นปรรูปสัตว์น้ำในครั้งนี้ เป็นการปฏิบัติภารกิจเชิงรุก ตามนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ในกิจการโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการประมง โดย ศปมผ. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและให้ป็นไปตามมาตรฐานสากล  โดยต่อจากนี้         กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะร่วมกับ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนปฏิบัติการตรวจร่วมโรงงานในพื้นที่อื่น   ทั่วประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเข้มงวดต่อไป

 

Lasted Post

Related Post