DSI Held Joint Meeting with 15 Embassies to Strengthen Efforts against Transnational Online Fraud Networks (Sale Scams)
published: 3/7/2567 9:29:10 updated: 10/7/2567 14:22:00 2139 views THDSI Held Joint Meeting with 15 Embassies to
Strengthen Efforts against Transnational Online Fraud Networks (Sale Scams)
On July 2, 2024, Police Major Yutthana Praedam, Acting Director General, and Police Lieutenant Colonel Phayao Thongsen, Deputy Director General, assigned Police Captain Khemachart Prakaihongmanee, Director of the Bureau of Technology and Cyber Crime, to chair and attend a meeting with representatives from 15 embassies. The purpose of this meeting was to coordinate efforts in the investigation and collection of evidence in Special Case No. 118/2566, which concerns a network of foreign nationals who registered fake companies, created fake websites, and impersonated business groups in Thailand to deceive the public. A channel has been opened for victims to report complaints or provide information directly to the special case investigation team of the Department of Special Investigation. This also includes the exchange of information to alert the public both domestically and internationally to avoid becoming victims of such criminal activities.
This meeting was convened as a result of the Bureau of Technology and Cyber Crime’s investigation into a network of foreign nationals who jointly created fake websites to offer goods and services on multiple platforms. This led people both domestically and internationally to believe in and transfer money to bank accounts in Thailand set up by the perpetrators. However, no actual goods or services were sold, resulting in significant losses to the public. This may constitute violations under the Computer-Related Crime Act (No. 2) B.E. 2560 (2017), the Prevention and Suppression of Participation in Transnational Organized Crime Act, B.E. 2556 (2013), and other relevant laws.
In this case, continuous criminal activities have been committed both domestically and internationally. The group of foreign perpetrators registered approximately 100 fake companies with the Department of Business Development, Ministry of Commerce, falsely claiming to be legitimate businesses in Thailand. They also registered domain names to create over 2,000 fraudulent websites, with an additional 300 websites registered periodically, rotating them frequently. Furthermore, they impersonated legitimate Thai businesses to deceive individuals, particularly victims in Europe. This has led to a loss of confidence and business opportunities for Thai businesses from foreign buyers seeking Thai goods and services, causing severe damage to the Thai economy.
To mitigate potential damage to the Thai economy during the investigation and evidence collection by the Special Case Investigation team, the Department of Special Investigation invited representatives from 15 embassies of countries involved in the case to a joint meeting. The purpose of this meeting was to discuss and verify information regarding individuals, legal entities, and websites based abroad. This information will be beneficial for the investigation, evidence collection, and the compilation of the special case file.
Furthermore, the Bureau of Technology and Cyber Crime will coordinate with the Bureau of Foreign Affairs and International Crime to foster international cooperation in criminal matters and to proceed with extradition requests according to the law.
วานนี้ (วันที่ 2 กรกฎาคม 2567) พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พันตำรวจโท พเยาว์ ทองเสน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก เขมชาติ ประกายหงษ์มณี ผู้อำนวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็นประธาน และประชุมร่วม 15 สถานทูต เพื่อประสานความร่วมมือในการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีพิเศษที่ 118/2566 กรณี กลุ่มเครือข่ายชาวต่างชาติ จดทะเบียนบริษัทปลอม สร้างเว็บไซต์ปลอม และแอบอ้างกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย ไปใช้ในการหลอกลวงประชาชน โดยเปิดช่องทางให้ผู้เสียหายสามารถติดต่อแจ้งความร้องทุกข์หรือส่งข้อมูลมายังคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อแจ้งเตือนประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรรมดังกล่าว
การประชุมดังกล่าวเป็นผลมาจากการสอบสวนของกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ในกรณี กลุ่มเครือข่ายชาวต่างชาติร่วมกันสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อเสนอขายสินค้าและบริการหลายเว็บไซต์ ทำให้บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศหลงเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในประเทศไทยที่กลุ่มคนร้ายเปิดไว้ ซึ่งไม่มีการขายสินค้าและบริการจริง ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
กรณีดังกล่าวมีการกระทำความผิดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง กลุ่มคนร้ายชาวต่างชาติ จดทะเบียนบริษัทเท็จกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อใช้อ้างเป็นธุรกิจในประเทศไทย จำนวนประมาณ 100 บริษัท และจดทะเบียนโดเมนเนมเพื่อสร้างเว็บไซต์ปลอมกว่า 2,000 เว็บไซต์ โดยจะมีการจดทะเบียนเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ ประมาณ 300 เว็บไซต์ สับเปลี่ยนหมุนเวียนไป นอกจากนี้ ยังแอบอ้างธุรกิจของคนไทยที่มีการประกอบกิจการจริงนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยเฉพาะผู้เสียหายในทวีปยุโรป ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจของคนไทยขาดความเชื่อมั่นและโอกาสทางธุรกิจจากชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการของไทย ทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับความเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้
เพื่อชะลอความเสียหายที่อาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในช่วงระหว่างที่คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทำการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงได้เชิญผู้แทนจากสถานทูตของประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทยที่เกี่ยวข้องทางคดี จำนวน 15 แห่ง มาประชุมหารือร่วมกัน เพื่อตรวจสอบข้อมูลบุคคล นิติบุคคลและข้อมูลเว็บไซต์ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและนำมาประกอบสำนวนในคดีพิเศษ
อนึ่ง กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ จะดำเนินการประสานงานกับ กองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา และการดำเนินการขอให้
ส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามกฎหมายฯ ต่อไป
----------------------------------
ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2567