พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจและบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือ ระหว่าง DSI และ DTI

published: 7/23/2015 2:11:10 PM updated: 7/23/2015 2:11:10 PM 783 views   TH
 

 

        DSI จับมือ DTI สร้างเครื่องมือพิเศษ เสริมเขี้ยวเล็บเพื่อความมั่นคงของประเทศด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่มีอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง จึงทำให้หลายหน่วยงานต้องปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง อาชญากรรมในปัจจุบันก็ได้พัฒนารูปแบบที่มีความซับซ้อนขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเป็น
เครื่
องมือในการกระทำผิด ภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีความซับซ้อน จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัว
เพื่
อพัฒนาศักยภาพตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) องค์การมหาชน กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ มีฐานข้อมูล องค์ความรู้ รวมถึงบุคลากรที่เป็นนักวิจัยอันทรงคุณค่าที่จะสามารถให้การสนับสนุนภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยเฉพาะการพัฒนาเครื่องมือพิเศษที่นำเอาความทันสมัยของเทคโนโลยี มาวิจัยและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ และในช่วงเวลาที่ผ่านมา สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบแม่ข่ายแผนที่ผ่านอินเตอร์เน็ต (DSI MAP) และอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ซึ่งงานชิ้นแรกได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนา DSI MAP บนโทรศัพท์มือถือในโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่รหัสเปิดบนเครือข่ายแผนที่เพื่อกระบวนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ (DSI MAP Extend) สร้าง Application สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสและเฝ้าระวังการ
บุกรุกพื
้นที่ของรัฐได้อย่างง่าย และสามารถแจ้งรายละเอียดและแสดงตำแหน่งพื้นที่เกิดเหตุ ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเข้าสู่แม่ข่ายแผนที่หรือระบบควบคุมที่ศูนย์กลาง (War Room) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุได้ถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ รวมทั้ง สามารถจัดเก็บข้อมูลจากต้นทางของข่าวสาร 

        ความร่วมมือครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและมาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีในการสร้างเครื่องมือในการสืบสวนสอบสวน เก็บพยานหลักฐาน เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับรัฐและประชาชนและสร้างความมั่นคงของประเทศ รวมทั้ง เป็นการเพิ่มช่องทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในหลายมิติ โดยสิ่งที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมคือการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

 

 

        ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจและบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือดังกล่าว (MOU และ MOA) ระหว่าง นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ พลเอก สมพงศ์ มุกดาสกุล ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พร้อมกับจัดนิทรรศการแสดงเครื่องมือพิเศษบางส่วน ความร่วมมือที่สำคัญนี้จะเสริมสร้างศักยภาพให้กับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษในการพัฒนารูปแบบการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพต่อไป