การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โครงการพัฒนาระบบบริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘

เผยแพร่: 21 พ.ย. 2557 16:12 น. ปรับปรุง: 21 พ.ย. 2557 16:12 น. เปิดอ่าน 924 ครั้ง  
 

 

DSI พัฒนาค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ

 

        เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10.00 น. พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ โรงแรมทีเค. พาเลซ กรุงเทพมหานคร โดยคณะทำงานทั้ง 3 คณะ ประกอบด้วย คณะทำงานการพัฒนาด้านเกียรติศักดิ์ คณะทำงานการพัฒนาด้านความเชี่ยวชาญ และคณะทำงานการพัฒนาด้านวัฒนธรรมองค์กร ได้รายงานผลการดำเนินงานการสร้างวัฒนธรรมร่วมองค์กร ปี 2557 และร่วมพิจารณาแผนการดำเนินการสร้างวัฒนธรรมร่วมองค์กร 3 ปี (พ.ศ.2557-2559) ในโอกาสนี้ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ ได้ให้ข้อคิดกับผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปพอสังเขป ได้ว่า การประชุมในวันนี้ มิได้เป็นการมอบนโยบายให้ทุกคนปฏิบัติ แต่เป็นการนำเสนอความคิดในฐานะผู้ร่วมงาน คนหนึ่งและขอให้การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นเวทีของทุกคนที่จะช่วยกันคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติที่ต่อเนื่อง และกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีงาม คือ เกียรติศักดิ์ เชี่ยวชาญ ซื่อสัตย์ อันจะนำไปพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ขององค์การต่อไป

       

 

  

 

 

 

  

 

  

 

      ในช่วงบ่าย นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ร่วมรับฟังการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของคณะทำงานทั้ง 3 ด้าน และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

      1. ด้านเกียรติศักดิ์ เป็นค่านิยมที่สำคัญ เป็นที่ประจักษ์เด่นชัดในสายตาสาธารณชน ซึ่งคำว่า "เกียรติศักดิ์" นี้ มีความหมายกว้างและครอบคลุมคติพจน์ ขององค์กร อันเป็นความภาคภูมิใจของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอที่เข้ามาทำงานในองค์กรแห่งนี้ ซึ่งจะต้องรักษาความมีเกียรติศักดิ์ให้ยั่งยืนต่อไป  

      2. วัฒนธรรมองค์กร คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่จะ หล่อหลอมให้บุคลากรของดีเอสไอซึ่งมาจากหลากหลายหน่วยงานให้เป็นหนึ่งเดียว และเป็นที่ยอมรับโดยเริ่มจากการยอมรับจากบุคลากรภายในด้วยกันเอง ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมคนเก่งและคนดีในองค์กร

      3. ด้านเชี่ยวชาญ จะต้องมีการวางแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล และฝึกความเชี่ยวชาญ ความเป็นมืออาชีพ เพราะดีเอสไอเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายซึ่งมีภารกิจ หน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจในการบริหารของตน ที่พร้อมจะทำหน้าที่โดยปราศจากอคติ และพร้อมสนับสนุนการทำงานของทุกหน่วยงาน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อไป

 

 

 

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ