คำถามที่พบบ่อย

เผยแพร่: 4 ต.ค. 2562 11:16 น. ปรับปรุง: 31 ต.ค. 2562 10:08 น. เปิดอ่าน 37163 ครั้ง   EN
 

FAQ ?

กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (อังกฤษ: DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 
  • นายอธิคม อินทุภูติ ด้านกฎหมาย และ ประธานกรรมการธุรกรรม
  • ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ด้านกฎหมาย
  • นายสุเจตน์ จันทรังษ์ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • รองศาสตราจารย์เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ด้านเศรษฐศาสตร์
  • นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ด้านการเงินการธนาคาร
  • นายฉัตรพงศ์ ฉัตราคม ด้านความมั่นคงประเทศ
  • พลตำรวจโท ธีรจิตร์ อุตมะ ด้านการสอบสวนคดีอาญา
  • พันตำรวจเอก ดร. สีหนาท ประยูรรัตน์ ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
  • นายประมนต์ สุธีวงศ์ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
 
คดีพิเศษ หรือคดีอาชญากรรมพิเศษในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หมายถึง คดีอาญาตามกฎหมายกำหนดไว้ในบัญชีท้าย พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) หรือคดีอาญาที่ได้กำหนดเป็นกฎกระทรวงโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ซึ่งคดีดังกล่าวต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
  • คดีความผิดทางอาญาที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเป็นพิเศษ
  • คดีความผิดทางอาญาที่มีหรืออาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่งคงของประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือระบบเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
  • คดีความผิดทางอาญาทีมีลักษณะเป็นคดีความผิดข้ามชาติที่สำคัญหรือเป็นการกระทำขององค์กรอาชญากรรม
  • คดีความผิดทางอาญาที่มีผู้ทรงอิทธิพลที่สำคัญเป็นตัวการผู้ใช้หรือผู้สนับสนุน
  • คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมิใชพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าน่าจะได้กระทำความผิดอาญา หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหา
ทั้งนี้การกระทำความผิด ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงฯ จะเป็นคดีพิเศษจะต้องเข้าลักษณะตาม (1) – (19)[10] และเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้มีการกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด อาทิ มูลค่าความเสียหาย จำนวนผู้กระทำความผิดไว้ในประกาศ กคพ. เรื่องการกำหนดรายละเอียดของลักษณะของการกระทำความผิดตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2551)
 
หากความผิดดังกล่าวเข้าข่ายเป็นคดีพิเศษ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาครับ กล่าวคือ จับได้ทั้งโดยการขอหมายจับ หรือจับในกรณีเป็นความผิดซึ่งหน้าด้วย
 
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ มีอำนาจพกพาอาวุธได้ เช่นเดียวกับทหาร ตำรวจ ตาม พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ มาตรา 29
 

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ