วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
เผยแพร่: 29 ต.ค. 2556 13:32 น. ปรับปรุง: 29 ต.ค. 2556 13:32 น. เปิดอ่าน 37347 ครั้ง ENวิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์ (Vision)
“เป็นองค์การหลักในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมพิเศษตามมาตรฐานสากล” โดยกำหนดความหมายของวิสัยทัศน์ ดังนี้
- การบังคับใช้กฎหมาย หมายถึง การใช้อำนาจการสืบสวนสอบสวนตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และแก้ไขเพิ่มเติม
- อาชญากรรมพิเศษ หมายถึง อาชญากรรมซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากอาชญากรรมพื้นฐาน เป็นอาชญากรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นกรณีพิเศษ โดยมีความละเอียดและซับซ้อน ยุ่งยาก และร้ายแรง อาทิ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (White Collar Crime) องค์กรอาชญากรรม (Organization Crime) อาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Crime)
- มาตรฐานสากล หมายถึง หลักเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดหลักนิติธรรมขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations Rule of Law Indicators) ประกอบด้วย หลักประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, หลักความเที่ยงตรง เป็นกลาง ความรับผิดชอบและความโปร่งใส, หลักการคุ้มครองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด และหลักศักยภาพ โดยมีการประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) จำนวน 7 ตัว ได้แก่
1) การบรรลุเป้าหมายและผลผลิต
2) ความเชื่อมั่นจากสังคม
3) การทำงานที่ยึดถือเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกัน
4) ความโปร่งใส
5) ความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
6) ความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล
7) ประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าว อยู่บนหลักพื้นฐานของมาตรา 29 (ว่าด้วยการรับโทษทางอาญา)
และมาตรา 68 (ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2) ความเชื่อมั่นจากสังคม
3) การทำงานที่ยึดถือเป้าหมายและความรับผิดชอบร่วมกัน
4) ความโปร่งใส
5) ความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
6) ความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล
7) ประสิทธิภาพในการบริหารงาน
ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าว อยู่บนหลักพื้นฐานของมาตรา 29 (ว่าด้วยการรับโทษทางอาญา)
และมาตรา 68 (ว่าด้วยสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พันธกิจ (Mission)
ป้องกัน ปราบปราม สืบสวน สอบสวนและดำเนินคดีพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเป็นธรรม
เป้าหมายหลัก (Goals)
1. เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของสังคมในการป้องกันปราบปราม สืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ
ตัวชี้วัด : ร้อยละความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
2. ปกป้อง รักษา เรียกคืนทรัพย์สิน และผลประโยชน์ให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
ตัวชี้วัด : มูลค่าทรัพย์สิน/ผลประโยชน์ที่สามารถปกป้อง เรียกคืนให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
3. สาธารณชนรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมคดีพิเศษ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
ตัวชี้วัด : ร้อยละความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
2. ปกป้อง รักษา เรียกคืนทรัพย์สิน และผลประโยชน์ให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
ตัวชี้วัด : มูลค่าทรัพย์สิน/ผลประโยชน์ที่สามารถปกป้อง เรียกคืนให้แก่รัฐ เอกชน และประชาชน
3. สาธารณชนรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมคดีพิเศษ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมพิเศษเพิ่มขึ้นทุกปี
ค่านิยมร่วม (Core Value)
“เกียรติศักดิ์ เชี่ยวชาญ ซื่อสัตย์” (DSI) :
- เกียรติศักดิ์ (Dignity) หมายถึง มีความภาคภูมิใจ มีศักดิ์ศรี มีศรัทธาต่อองค์กร ดำรงตนอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี เหมาะสมสถานะ มีวินัยในตนเองมีความรักสามัคคีต่อองค์การและเพื่อนร่วมงาน
- เชี่ยวชาญ (Specialty) หมายถึง มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญอันเกิดจาก การสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานจนเป็นที่ยอมรับของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
- ซื่อสัตย์ (Integrity) หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต ต่อตนเองและ ผู้อื่นการยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานยึดมั่น และปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
1. พัฒนาระบบการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล (Standard System)
2. พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพ (Smart Agent)
3. สร้างเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย (Super Technology)
4. บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน (Strong Collaboration)
5. การบริหารจัดการองค์การเพื่อความยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล (Sustainable Administration)