DSI และคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวนคดีลุงเปี๊ยก มีมติฟัน 8 ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ ผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการทรมานฯ และอาญา

เผยแพร่: 11 ก.ค. 2567 16:25 น. ปรับรุง: 12 ก.ค. 2567 13:55 น. เปิดอ่าน 39 ครั้ง  
 

DSI และคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวนคดีลุงเปี๊ยก มีมติฟัน 8 ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ

ผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันปราบปรามการทรมานฯ และอาญา 


     ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับกรณี ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ ถูกกล่าวหาว่าบังคับหรือทรมานให้ นายปัญญา หรือ "ลุงเปี๊ยก" รับสารภาพในคดีฆาตกรรม นางบัวผัน ตันสุ หรือ "ป้าบัวผัน" ที่ถูกเยาวชนรุมทำร้าย จนเสียชีวิตเป็นคดีพิเศษ เนื่องจากเข้าข่ายเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการ กระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ เป็นคดีพิเศษที่ 9/2567 และได้ทำการแจ้งข้อกล่าวหา แก่ข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 8 นาย ประกอบด้วย ระดับสัญญาบัตร 5 นาย และระดับประทวน 3 นาย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 และได้รวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว นั้น

     ล่าสุด วันนี้ (11 กรกฎาคม 2567) เวลา 12.30 น. คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 9/2567 โดยมีนายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการกองกิจการอำนวยความยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ หัวหน้า คณะพนักงานสอบสวน และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกองกิจการอำนวยความยุติธรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ตำรวจและเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามคำสั่งสำนัก นายกรัฐมนตรีที่ 208/2567 ได้ประชุมร่วมกับ นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะพนักงานอัยการ โดยทาง คดีมีพยานหลักฐานพอสมควรที่ประชุมจึงมีมติร่วมกันว่ามีความเห็นควรสั่งฟ้องข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธร อรัญประเทศที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 นาย ประกอบด้วย ระดับสัญญาบัตร 5 นาย และระดับประทวน 3 นาย ในความผิดฐาน “ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ร่วมกันกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ร่วมกันกระทำให้บุคคลสูญหาย ร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำ ให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างการ เสรีภาพ ของผู้ถูกข่มขืนใจนั้น โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ ห้าคนขึ้นไป และร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพใน ร่างกาย” อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 22 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 309 มาตรา 310 ประกอบมาตรา 83

     หลังจากนี้ คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จะส่งสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษให้อธิบดีกรมสอบสวน คดีพิเศษพิจารณามีความเห็นส่งไปยังพนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามทุจริตภาค 2 ภายในปลายเดือน กรกฎาคม 2567 นี้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำทรมานฯ มาตรา 31 วรรคท้าย และแจ้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ

     การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรม สอบสวน คดีพิเศษ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ให้กองกิจการอำนวยความยุติธรรมเร่งรัด ดำเนินการสืบสวนสอบสวนให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เนื่องจากคดีดังกล่าวกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและ กระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างมาก


เอกสารที่เกี่ยวข้อง