พลตำรวจเอก ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ตรวจเยี่ยมศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เผยแพร่: 4 พ.ย. 2564 15:43 น. ปรับปรุง: 4 พ.ย. 2564 21:47 น. เปิดอ่าน 2789 ครั้งพลตำรวจเอก ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ตรวจเยี่ยมศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 น. นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันตำรวจโท สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ พันตำรวจเอก อัครพล บุณโยปัษฎัมภ์ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ พลตำรวจเอก ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และคณะ ซึ่งได้มาตรวจเยี่ยม “ศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์” โดยมี พันตำรวจตรี สิริวิชญ์ ชาญเตชะสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ และเจ้าหน้าที่กองคดีการค้ามนุษย์ ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ สถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ ศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองชั่วคราวสำหรับผู้เสียหายหรือบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาไม่มีสถานที่ดังกล่าวโดยเฉพาะ พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ห้องประชุมของสถานที่ราชการเป็นสถานที่คุ้มครองหรือคัดแยกผู้เสียหาย ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหวาดกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย จึงไม่กล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลในการถูกแสวงประโยชน์ เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินคดีค้ามนุษย์ได้ บางกรณีผู้เสียหายยังอยู่ในสภาวะที่ได้รับกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างร้ายแรง (Trauma-Informed) และอยู่ในระยะเวลาที่ต้องได้รับการฟื้นฟูทางด้านจิตใจ (Reflection period) จึงไม่พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ จึงต้องมีสถานที่ให้ผู้เสียหายพักค้างเพื่อฟื้นฟู เยียวยา บาดแผลทางจิตใจ เกิดความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และเกิดความไว้วางใจเจ้าหน้าที่ อันเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยใช้สถานที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารฝึกทักษะความเชี่ยวชาญ สถาบันพัฒนาการสอบสวนคดีพิเศษ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยกองคดีการค้ามนุษย์ ได้ให้ความสำคัญในงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล มุ่งพัฒนากระบวนการคัดแยก สัมภาษณ์ คุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ สามารถระบุตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง (Victim-Centric Approach) ยกระดับการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศให้ดีขึ้นต่อไป