DSI ร่วมเสวนาและจัดนิทรรศการ “1 ปี กับกฎหมายต่อต้านทรมานและอุ้มหาย : หนทางสู่ความยุติธรรม” (One year with Anti-Torture and Enforcement Disappearance Law : A Journey to Justice)
เผยแพร่: 21 ก.พ. 2567 8:38 น. ปรับรุง: 18 เม.ย. 2567 10:38 น. เปิดอ่าน 483 ครั้ง ENDSI ร่วมเสวนาและจัดนิทรรศการ “1 ปี กับกฎหมายต่อต้านทรมานและอุ้มหาย : หนทางสู่ความยุติธรรม”
(One year with Anti-Torture and Enforcement Disappearance Law : A Journey to Justice)
วันนี้ ณ อาคารกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ นายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการกองกิจการอำนวยความยุติธรรม นายวิทวัส สุคันธรส ผู้อำนวยการศูนย์สืบสวนสะกดรอยและการข่าว และนางสาวณัฐกานต์ พงษ์พิริยะ ผู้อำนวยการส่วนประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “ทิศทางและความท้าทายในการขับเคลื่อน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565” ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมได้จัดกิจกรรม “1 ปี กับกฎหมายต่อต้านทรมานและอุ้มหาย : หนทางสู่ความยุติธรรม” (One year with Anti Torture and Enforcement Disappearance Law : A Journey to Justice) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแถลงผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายรวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฯ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนสาธารณชนทั่วไป
ในการนี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษด้วย และได้เยี่ยมชมนิทรรศการในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้ร่วมเสวนาและจัดนิทรรศการมีการนำเสนอคดีสำคัญที่เจ้าหน้าที่รัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิด และยังได้สาธิตการจับกุมตามกฎหมายต่อต้านทรมานและอุ้มหายอีกด้วย และเนื่องจากวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นวันครบรอบ 1 ปี ที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ได้มีผลบังคับใช้ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตระหนักถึงเรื่องกาทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่ไม่อาจกระทำได้ ไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ ดังนั้น เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ตลอดจนมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ