DSI ร่วมประชุมนานาชาติ เด็กในยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ร่วมกัน “สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต” สำหรับเด็กในประเทศไทย  

เผยแพร่: 9 ก.พ. 2566 10:57 น. ปรับรุง: 15 ก.พ. 2566 15:21 น. เปิดอ่าน 1144 ครั้ง   EN
 

DSI ร่วมประชุมนานาชาติ เด็กในยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ร่วมกัน

“สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต”

สำหรับเด็กในประเทศไทย

    วันที่ 8 และ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2566 พันตำรวจตรี สุริยา  สิงหกมล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย ร้อยตำรวจเอก เขมชาติ  ประกายหงษ์มณี ผู้อำนวยการศูนย์คดีละเมิดทางเพศเด็ก ร่วมประชุมนานาชาติในหัวข้อ “เด็กในยุคดิจิทัลในประเทศไทย” โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานเปิดการประชุม 
การประชุมนานาชาติครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (COPAT) องค์การตำรวจสากล (Interpol) องค์การ Ecpat International สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และพันธมิตรอื่น ๆ รวมถึงมูลนิธิอินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  เป็นการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญ  ด้านการปกป้องและคุ้มครองเด็กจากทั่วโลก รวมทั้งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับสากลเข้าร่วมกว่า 100 คน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์การคุ้มครองเด็กแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) ที่ครอบคลุมทั้งสภาพแวดล้อมออนไลน์และออฟไลน์ 

    ช่วงเช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2566  ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้พบปะหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับบทบาทของ DSI ในการบังคับใช้กฎหมาย  ตามนโยบายอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษที่มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามคดีพิเศษ คดีที่ผลกระทบสูงซึ่งคดีละเมิดทางเพศเด็ก ซึ่งเป็นอีกคดีความผิดทางอาญาหนึ่งที่ DSI ให้ความสำคัญ

    บ่ายวันเดียวกัน ร้อยตำรวจเอก เขมชาติ   ประกายหงษ์มณี ผู้อำนวยการศูนย์คดีละเมิดทางเพศเด็ก ได้ร่วมอภิปรายกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ องค์การตำรวจสากล (Interpol) , สำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (AFP) , สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และ สถาบัน Global Initiative Against Transnational Organization Crime (GI)  ในหัวข้อ “การปกป้องคุ้มครองเด็กออนไลน์: การแก้ไขช่องว่างในกฎหมายความผิดที่เป็นอาชญากรรมข้ามชาติและคดีนอกราชอาณาจักร” และนำเสนอในประเด็น : ความท้าทายของไทยและบทบาทของ DSI ในแง่ของความร่วมมือระหว่างประเทศ กับองค์กรระหว่างประเทศ/สถานทูต เสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ ซึ่งข้อมูลหลักในการอภิปราย นำมาจากรายงานหยุดยั้งอันตรายหลักฐานการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางออนไลน์ในประเทศไทย (Disrupting Harm) โดยได้เน้นย้ำถึงกฎหมายสภาพนอกอาณาเขตในประเทศไทย ยังมีช่องว่างโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก  
         คดีละเมิดทางเพศเด็ก เป็นคดีที่สำคัญและมีผลกระทบสูง ซึ่ง DSI ให้ความสำคัญ ที่นอกจากการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษแล้ว ยังมุ่งเน้นเชิงป้องกันการเกิดอาชญากรรมด้วย  นับเป็นอีกมิติหนึ่งในการป้องกันและปราบปรามคดีพิเศษที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน 


 

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ