DSI อบรมสัมมนาถอดบทเรียนยกระดับแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
เผยแพร่: 23 ก.ย. 2565 12:59 น. ปรับรุง: 23 ก.ย. 2565 13:05 น. เปิดอ่าน 1210 ครั้งDSI อบรมสัมมนาถอดบทเรียนยกระดับแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
วันที่ 21 กันยายน 2565 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ พันตำรวจโท สุภัทธ์ ธรรมธนารักษ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ (TIPNET) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 หัวข้อเรื่อง “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ : พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านป้องกันและปรามปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2565” ณ โรงแรมพัฒนา สปอร์ท รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรของสำนักงานคดีค้ามนุษย์ สำนักงานอัยการสูงสุด กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และวิทยากรภาคเอกชนจากองค์กรพัฒนาเอกชนและตัวแทนองค์กรของหน่วยงานรัฐของต่างประเทศด้านการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการ ค้ามนุษย์ที่ปฏิบัติงานในประเทศไทย
สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2558 และกำหนดให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบูรณาการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป และเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในปี พ.ศ.2565 กรมสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีการค้ามนุษย์ จึงได้จัดทำ “โครงการการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ (TIPNET)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนา ได้แก่ สำนักงานคดีค้ามนุษย์ สำนักงานอัยการสูงสุด กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ กองคดีการค้ามนุษย์ กองนโยบายและยุทธศาสตร์ กองพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีองค์กรพัฒนาเอกชนและตัวแทนองค์กรของรัฐต่างประเทศเข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย โครงการอาเซียน – ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (ASEAN-ACT) มูลนิธิอิมมานูเอล (Immanuel Foundation: IMF) องค์กรลิฟต์อินเตอร์เนชั่นแนล ภายใต้มูลนิธิสานสัมพันธ์ครอบครัว (Lift International) มูลนิธิโซเอ อินเตอร์เนชั่นแนล (ZOE International Foundation) มูลนิธิรณสิทธิ์ มูลนิธิโอ ยู อาร์ (O.U.R. Foundation) มูลนิธิไอเจเอ็ม (IJM Foundation) มูลนิธิพิทักษ์สตรี (ALLIANCE ANTI TRAFIC: AAT) มูลนิธิไนท์ไลท์ (NightLight International Foundation) มูลนิธิเดสทินี่เรสคิว (Destiny Rescue Foundation) มูลนิธิวินรอค อินเตอร์เนชั่นแนล (Winrock International Foundation) มูลนิธิฟอร์ฟรีดอม อินเตอร์เนชั่นแนล (For Freedom International Foundation) ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทางทะเล (Stella Maris) รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 หน่วยงาน มีผู้เข้าสัมมนามากกว่า 90 คน วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการดำเนินคดี ด้านป้องกัน ด้านคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ให้มีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิด เพื่อนำผลการปฏิบัติงานในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการดำเนินคดีและช่วยเหลือผู้เสียหายมาวิเคราะห์ การถอดบทเรียน และนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการดำเนินคดี ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ด้านเครือข่ายของหน่วยงานของรัฐ เครือข่ายภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานหรือตัวแทนองค์กรของรัฐต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ให้การสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยต่อไป