DSI ตั้งศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมพิเศษในสถานการณ์การแพร่เชื้อระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(ศูนย์ DSI COVID-19)

เผยแพร่: 1 เม.ย. 2563 11:52 น. ปรับรุง: 1 เม.ย. 2563 11:52 น. เปิดอ่าน 2464 ครั้ง  
 

DSI ตั้งศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมพิเศษในสถานการณ์การแพร่เชื้อระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(ศูนย์ DSI COVID-19)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก และสถานการณ์ภายในประเทศไทยที่ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนรัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 และมีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิท-19 แล้ว นั้น

น ายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เล็งเห็นว่าวิกฤติดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ปัญหาอาชญากรรมที่แฝงมาในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น เพื่อดำเนินมาตรการเชิงรุกด้านการป้องกันปราบปราม และการอำนวยความยุติธรรมเพื่อคุ้มครองประชาชน จึงได้มอบนโยบายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ จัดตั้ง “ศูนย์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมพิเศษในสถานการณ์การแพร่เชื้อระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศูนย์ DSI COVID-19)” ที่อาคารกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้ นายแพทย์ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีกรมสอบสวน คดีพิเศษ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการดำเนินมาตรการเชิงรุก ด้วยการเฝ้าระวัง ติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์ และดำเนินการป้องกัน ปราบปราม สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมพิเศษในกรอบภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งรวมถึง
การติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทั่วไป เช่น การหลอกลวงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ข่าวลวงที่ส่งผลกระทบต่อ
ความสงบเรียบร้อย (FAKE NEWS) การฉ้อโกง กักตุน ในเรื่องสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เช่น อาหาร หน้ากากอนามัยเครื่องมือแพทย์ ขบวนการปล่อยกู้เงินนอกระบบที่ผิดกฎหมาย หรือการเอาเปรียบประชาชนในรูปแบบต่างๆ และบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งการประสานส่งต่อข้อมูลหน่วยบังคับใช้กฎหมายอื่นเพื่อดำเนินการตามกฎหมายและการติดตามผลการดำเนินการ การสร้างความรับรู้แก่ประชาชน และการเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่มาตรการป้องกันหรือแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ ด้วย

 

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถส่งข้อมูลหรือแจ้งเบาะแสในส่วนที่เกี่ยวข้องมายังกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ โดยสามารถแจ้งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ www.dsi.go.th หรือสายด่วน 1202 โทรฟรีทั่วประเทศ หรือจะส่งเป็นจดหมาย ก็สามารถทำได้ โดยจ่าหน้าซองถึงอธิบดีกรมสอบสวน คดีพิเศษ เลขที่ 128 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษจะปกปิดชื่อของท่านเป็นความลับ

 

คณะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ

31 มีนาคม 2563

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ