มูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มอบรางวัล TQM – Best Practices ให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ

เผยแพร่: 12 พ.ย. 2565 18:25 น. ปรับรุง: 12 พ.ย. 2565 18:28 น. เปิดอ่าน 973 ครั้ง  
 

มูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มอบรางวัล TQM – Best Practices ให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เข้ารับรางวัล TQM - Best Practices ปี 2565 ในฐานะหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานและแนวปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จากการเสนอผลงานการถอดบทเรียนกระบวนการปฏิบัติงาน เรื่อง การเสริมสร้างพลังเครือข่ายภาคประชาชน DSI ภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 เพื่อการพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืนโดยนางสาวนฐพร บุญยะกร ผู้อำนวยการส่วนเครือข่ายการป้องกันการเกิดอาชญากรรมคดพิเศษ และนายวชิระ เกียรติวัฒนเจริญ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ผู้รับผิดชอบเขียนบทความ ในการประชุมวิชาการTHAILAND QUALITY CONFERENCE & 23rd Symposium on TQM - Best Practices in Thailand ระหว่างวันที่10 11 พฤศจิกายน 2565 ณ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งผลงานดังกล่าวได้นำเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติงานการเสริมสร้างประสิทธิภาพเครือข่ายภาคประชาชน DSI ภายใต้ช่วงสถานการณ์โควิด – 19 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ปรับกระบวนทัศน์การทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย บนพื้นฐาน “สมัครใจ มีความพร้อม ฉันทามติร่วมกัน พัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักคิด “แก้วิกฤติเป็นโอกาส” เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม(participatory) “รู้จัก มักคุ้น อุ่นใจ ไปด้วยกัน ปันอำนาจ” เป็นต้นแบบในการสร้างพลังภาคประชาชนและความร่วมมือกับภาครัฐในการป้องกันการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ พร้อมทั้งนำหลักการบริการมาใช้ดูแลเครือข่าย การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการติดต่อสื่อสารพัฒนาแนวคิดในเชิงบวกให้สมาชิกเครือข่าย การบริหารจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการป้องกันภัยในภาวะที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การศึกษาความต้องการหรือความคาดหวัง (Expectation) สร้างความพึงพอใจ (Satisfaction) ความพร้อม (Readiness) เสริมนวัตกรรมความรู้ต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) สร้างความสนใจในนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง (Interest) การเผื่อแผ่ช่วยเหลือ (Courtesy) เครื่องอุปโภคบริโภคสิ่งที่จำเป็น ให้เกิดคุณค่า (Values) ตามความคาดหวังของผู้รับบริการ มีรายละเอียดการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้  

1) การบริหารจัดการศูนย์รับข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่เครือข่ายอาชญากรรมคดีพิเศษ (DSI Station) หรือสถานีประชาชน

2) กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการบริหารราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ

3) การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ เช่น การผลิตสื่อเตือนภัยอาชญากรรมเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ทางเว็ปไซต์ ยูทูป เฟสบุ๊ค (เพจเฟสบุ๊ค ศูนย์ DSI Station ทั้ง 29 ศูนย์) การจัดการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูล

แบบสองทาง และรายงานการเฝ้าระวังอาชญากรรมในชุมชน  

​4) สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (interactive action learning) การจัดการองค์ความรู้ด้านการป้องกันอาชญากรรมคดีพิเศษ และกิจกรรมสร้างสัมพันธ์เครือข่ายให้ยั่งยืน

5) การสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกเครือข่ายกับกรมสอบสวนคดีพิเศษทางอินเตอร์เน็ตเพื่อให้การติดต่อสื่อสาร การรับข้อร้องเรียน หรือคำร้องขอความช่วยเหลือจากประชาชนเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันเวลา

 

ทั้งนี้ มูลนิธิฯ จะนำผลงานดังกล่าวไปนำเสนอในช่องทางการเผยแพร่ผลงานของมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มในประเทศไทย เพื่อเป็นการขยายต่อข้อมูลและฐานความรู้ เพื่อให้ผู้สนใจจากหน่วยงานหรือสถาบันอื่นเข้ามาศึกษาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ที่มาข้อมูล : ส่วนเครือข่ายการป้องกันการเกิดอาชญากรรมคดีพิเศษ

กองนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โทรศัพท์ 0 2831 9888 ต่อ 51019

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ