DSI ร่วมงานเปิดตัวแนวปฏิบัติอาเซียนเกี่ยวกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่เป็นสตรี
เผยแพร่: 25 ม.ค. 2562 10:29 น. ปรับปรุง: 25 ม.ค. 2562 10:29 น. เปิดอ่าน 1114 ครั้งDSI ร่วมงานเปิดตัวแนวปฏิบัติอาเซี
ยนเกี่ยวกับผู้เสียหายจากการค้ ามนุษย์ที่เป็นสตรี
ตามที่ รัฐบาลมีนโยบายและให้ความสำคั
ญในการป้องกันและปราบปรามปั ญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความรุ นแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างสั งคมและระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัญหาที่มี การกระทำละเมิดต่อสิทธิและเสรี ภาพ และสร้างความเหลื่อมล้ำต่อศักดิ์ ศรีของความเป็นมนุษย์โดยมุ่งหวั งให้ประเทศไทยได้รับการยกระดั บเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้ าและมีความชัดเจนในการแก้ไขปั ญหาการค้ามนุษย์
กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในสังกั ดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดี อาญาที่มีลักษณะเป็นคดีพิเศษ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติก ารสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยรวมถึงความผิดเกี่ยวกับการค้ ามนุษย์และที่มีลักษณะเป็นคดีพิ เศษ และเป็นคดีที่กรมสอบสวนคดีพิ เศษมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกั นปราบปรามและสืบสวนสอบสวน
ล่าสุด เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 09.00 น. พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้ พันตำรวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานร่วมในพิธีการเปิดตั
วแนวปฏิบัติที่มีความละเอียดอ่ อนเชิงเพศภาวะสำหรับการดูแลสตรี ที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุ ษย์และการประชุมเชิงปฏิบัติ การเพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติฯ และเสริมสร้างความตระหนักและส่ งเสริมบทบาทการมีส่วนร่ วมในการป้องกันและแก้ไขปั ญหาการค้ามนุษย์ของกลุ่มสตรี และสมาชิกคนสำคัญในท้องถื่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาคสนามในพื้ นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและศูนย์การประชุม แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
ในการนี้ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซี
ยนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้ มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้ องกว่า 30 หน่วยงาน อาทิ UN Women ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชี ย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้จัดทำโครงการนำร่องสำหรั บการแปล การจัดพิมพ์ และการเปิดตัวและเผยแพร่แนวปฏิ บัติที่มีความละเอียดอ่อนเชิ งเพศภาวะสำหรับการดูแลสตรีที่ เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ของอาเซียนในประเทศไทย ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีส่วนช่ วยสนับสนุนในการแปลเอกสารดังกล่ าวจากภาษาอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ : Gender Sensitive Guideline for Handling Women Victims of Trafficking in Persons) เป็นภาษาไทยจนสำเร็จลุล่วงด้ วยดี นอกจากนี้ กองคดีการค้ามนุษย์ได้เข้าร่ วมบรรยายในหัวข้อ “ประสบการณ์การให้ความช่วยเหลื อและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ ามนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็ นความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ” อีกด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้สรุปปัญหาและอุ
ปสรรคจากประสบการณ์การทำงานป้ องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนี้ 1. ปัญหาการขาดแคลนสถานที่ที่
เหมาะสมในการคัดแยกผู้เสียหาย 2. กระบวนการก่อนการคัดเลือก รวบรัดมากเกินไป ควรใช้เวลากับผู้เสี
ยหายในการสร้างสัมพันธภาพระหว่ างผู้เสียหายกับผู้ซักถาม เพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความไว้ ใจและวางใจก่อน รวมทั้งรู้สึกปลอดภัยที่จะให้ข้ อมูล 3. ในบางครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้สัมภาษณ์ และล่าม ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกรณีที่มีบุคคลที่จะต้
องคัดแยกจำนวนมาก 4. การคุ้มครองเด็กหรือผู้เสี
ยหายไว้ในสถานคุ้มครองนานเกินไป เป็นเรื่องที่ถูกบอกต่อกันว่า หากให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ จะต้องถูกนำไปไว้ในสถานคุ้ มครองเป็นเวลานานกว่าจะได้เดิ นทางกลับบ้าน 5. ลักษณะความเป็นอิสระของเด็กหรื
อผู้เสียหาย ขณะที่พักอยู่ในสถานคุ้ มครองในการเดินทางภายหลังเบิ กความเสร็จเรียบร้อย รอการยืนยันข้อมูลจากปลายทางเพื่ อส่งกลับ 6. การจำกัดการใช้โทรศัพท์ของเด็
กหรือผู้เสียหาย เพื่อไม่ให้มีการข่มขู่หรื อแทรกแซงจากฝ่ายผู้ต้องหาหรื อนายหน้า ยังคงมีความจำเป็น แต่เด็กหรือผู้เสียหายอาจต่อต้ าน และไม่ให้ความร่วมมือ 7. มีการข่มขู่ผู้ปกครองของเด็กหรื
อผู้เสียหายในต่างประเทศ 8. บางครั้ง เด็กหรือผู้เสียหายที่เป็นเหยื่
อการค้ามนุษย์ยังมีทัศนคติหรื อความรู้สึก ความคิด ว่าตนเองไม่ได้เป็นเหยื่อค้ามนุ ษย์ พบว่าหลายครั้งเด็กหรือผู้เสี ยหายไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสี ยหายในคดี 9. ประเด็นของค่าเสียหายของผู้เสี
ยหาย หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ผู้กระทำความผิดได้โอนทรัพย์ สินต่าง ๆ หรือไม่มีทรัพย์สิน หรือไม่สามารถค้นหาทรัพย์สิ นมาชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสี ยหายได้ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุ มเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรื อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกองทุ นเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ เสียหาย เพราะแม้ว่าจะยึดทรัพย์ผู้ กระทำความผิดได้ แต่ทรัพย์สินที่ยึดได้ตามกฎหมาย ของสำนักงานป้องกั นและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งไม่สามารถนำมาชดใช้ค่าเสี ยหายให้กับผู้เสียหายได้ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว พลตำรวจเอก ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีกองทุนชดใช้ค่าเสียจากการค้ ามนุษย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาและการศึ กษาของรัฐบาล และผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอว่ าควรเป็นกองทุนชดใช้ค่าเสี ยหายจากการค้ามนุษย์ระดับอาเซี ยน โดยแต่ละประเทศจั ดสรรงบประมาณเข้าสู่กองทุนฯ
******************************
****************