DSI ชูโปรแกรมวิเคราะห์การกระทำความผิด นอมินีต่างชาติ นำร่อง 4 เมืองใหญ่

เผยแพร่: 9 ก.ค. 2562 16:11 น. ปรับปรุง: 9 ก.ค. 2562 16:11 น. เปิดอ่าน 2297 ครั้ง  
 

DSI ชูโปรแกรมวิเคราะห์การกระทำความผิด นอมินีต่างชาติ นำร่อง 4 เมืองใหญ่

 

       ในวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2562 พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร  รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานเปิดโครงการแนวทางการพัฒนาการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์การกระทำความผิดแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมเป็นระบบ ณ โรงแรมเอ็ม พัทยา ซอยนาเกลือ 25 อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ สภ.เมืองพัทยา สภ.หนองปรือ สภ.บางละมุง สภ.นาจอมเทียน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดชลบุรี สรรพากรพื้นที่ชลบุรี 3 พาณิชย์จังหวัดชลบุรี ศูนย์ปราบปรามคนร้ายข้ามชาติและเข้าเมือง

       โดยผิดกฎหมายตำรวจภูธร จังหวัดชลบุรี กลุ่มงานความมั่นคง จังหวัดชลบุรี และศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 2
พันตำรวจโท กรวัชร์ กล่าวว่า การเปิดเสรีด้านการลงทุนซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกกับประชาคมอาเซียนทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันมีธุรกิจแฝงหรือบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ อาศัยช่องว่างของกฎหมายเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการปัองกันธุรกิจของคนไทยที่ยังไม่พร้อมแข่งขัน และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการค้ากันอย่างเป็นธรรมระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ รัฐไทยจึงตราพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ขึ้น เพื่อใช้เป็นกฎหมายในการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยมีบทนิยามคำว่า “คนต่างด้าว” และใช้หลักการที่ว่าห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายกฎหมาย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน แต่ต้องยอมรับว่านักลงทุนต่างประเทศที่กำลังคิดจะมาลงทุนในประเทศไทยย่อมเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ เพราะต้องถูกแยกเป็นคนต่างด้าว มาตรฐานการทำธุรกิจต่าง ๆ อาจไม่เหมือนคนไทย จึงเกิดความพยายามทำให้บริษัทเป็น “นิติบุคคลไทยไม่แท้ หรือหาตัวแทนเชิด” โดยจะเห็นว่ามีความพยายามตั้งบริษัทโดยใช้คนไทยเป็น “นอมินี” เข้าถือหุ้นแทนคนต่างชาติเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกรมสอบสวนคดีพิเศษตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อศึกษาถึงปัญหาการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และหาวิธีการไม่ให้เกิดปัญหาการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวของคนต่างชาติ ปี พ.ศ. 2560 โดยได้บูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการปกครอง กรมสรรพากร และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) พัฒนาการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยการออกแบบและสร้างนวัตกรรมเครื่องมือโปรแกรมวิเคราะห์การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นการพัฒนาการสืบสวนสอบสวน โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงานคดี โดยโปรแกรมแสดงผลเป็นภาพในลักษณะเป็นเส้นเวลา (Timeline) ทำให้เห็นพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดสามารถนำไปวางแผนการปฏิบัติงานคดีได้ง่าย มีการประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้อง และมีมาตรฐาน ที่สำคัญสามารถทำงานบนระบบของโปรแกรมได้ทุกสถานที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้การสรุปสำนวนคดีทำได้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก และสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้การกระทำความผิดฝ่าฝืน พระราชบัญญัติดังกล่าวของคนต่างชาติลดลงไปด้วย 
 
 
 
          ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประสิทธิภาพในการปัองกันปราบปรามคนต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจของคนไทยที่ยังไม่พร้อมแข่งขัน กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงจัดโครงการนำร่องเปิดอบรมวิธีการใช้โปรแกรมวิเคราะห์การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ให้กับข้าราชการสังกัดหน่วยงานดังกล่าวที่ปฏิบัติงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชลบุรี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบสวนสอบสวน เพื่อช่วยลดปัญหาของบุคลากรที่มีองค์ความรู้ต่างกัน ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน ประหยัดบุคลากร งบประมาณ และเวลา ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานในสำนวนคดีได้ครบถ้วน ซึ่งจะส่งผลให้การปราบปรามนอมินีต่างชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันภัยจากความมั่นคงและระบบเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
 
 
 
 
 
*********************************************************

 

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ