DSI ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพร่วมจัดสัมมนาวิชาการและประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ

เผยแพร่: 22 มิ.ย. 2561 15:56 น. ปรับรุง: 22 มิ.ย. 2561 15:56 น. เปิดอ่าน 1320 ครั้ง  
 

DSI ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพร่วมจัดสัมมนาวิชาการและประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ

 

 

 

        วันที่ 21 มิถุนายน 2561 พันตำรวจเอก ไพสิฐ  วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  ได้มอบหมายให้ พันตำรวจโท ประวุธ วงศ์สีนิล  รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธาน ในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการและประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 Innovation for Crime Combating Conference and Contest 2018 (I4C-2018) ร่วมกับ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยมี พันตำรวจโท อนุรักษ์  โรจนนิรันดร์กิจ ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีและศูนย์ข้อมูลการตรวจสอบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผู้กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของงานฯ ณ ห้องประชุม 17201 ชั้น 2 อาคารนานาชาติ (อาคาร 17) คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 

 

 

        งานสัมมนาวิชาการและประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมสอบสวนคดีพิเศษและสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยในปีนี้เป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ที่ได้รับเกียรติ จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน ซึ่งงานสัมมนา ดังกล่าว ประกอบด้วย

       การอภิปราย ในหัวข้อ "เทคโนโลยีบล็อกเชน" (Blockchain) : ความท้าทายเพื่อพลิกโฉมการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ" โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ได้แก่ ดร.ภูมิ  ภูมิรัตน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  พันตำรวจโท พัฒนะ  ศุกรสุต  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ และนายดนุพล  ชื่นอารมณ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานกิจการยุติธรรม  โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ผลเพิ่ม หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเครือข่ายไร้สายภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย  การประกวดในครั้งนี้ มีผลงานผ่านการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 35 ผลงาน แบ่งเป็น ประเภทแนวคิด 26 ผลงาน และประเภทชิ้นงาน จำนวน 9 ผลงาน โดยมีการจัดแสดงโปสเตอร์ผลงาน ให้ผู้เข้าร่วมงานได้เยี่ยมชมและพูดคุยกับเจ้าของผลงาน, การนำเสนอผลงานประเภทชิ้นงาน แบบปากเปล่า (Oral Presentation), การนำประเด็นการอภิปรายตอบข้อซักถาม โดย พันตำรวจโทพัฒนะ  ศุกรสุต ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ และนายอนุรักษ์  ขจรฤทธิ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ และผลการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้แก่ 

รางวัลดีเด่น ประเภทแนวคิด 2 รางวัล

1. ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบวิเคราะห์ดีเอ็นเอสเพื่อตรวจจับชื่อโดเมนปลอมแปลงคล้ายคลึง

(Development of DNS Analyzer System for Domain name Typosquatting Detection)

จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ส่งผลงาน : นายกิจจพันธ์ สิงห์ชัย

อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.สุรศักดิ์ สงวนพงษ์

2. ผลงานเรื่อง ปลดล็อคคอรัปชั่น” (UNLOCC)

จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้ส่งผลงาน : นางสาวณัชชา สุวรรณยิก และ นางสาวปาณิสรา ธนะประสพ

อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.จุมพล พลวิชัย

  รางวัลดีเด่น ประเภทชิ้นงาน 2 รางวัล

1. ผลงานเรื่อง การแบ่งประเภทพฤติกรรมของ Exploit-Kit โดยใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง
(Classification of Exploit-Kit Behavior via Machine Learning Approach)

จาก มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ส่งผลงาน : นางสาวสุกฤตา หาญเมตตา

อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์

2. ผลงานเรื่อง บล็อกเชนสำหรับหลักฐานสื่อผสมแบบกระจาย

(Blockchain for distributed multimedia evidences)

จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ส่งผลงาน : นายพิทยุตม์ ชาญเศรษฐิกุล

อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.อนันต์ ผลเพิ่ม

รางวัลหัวข้อพิเศษดีเด่น 2 รางวัล

1. ผลงานเรื่อง การพัฒนาระบบวิเคราะห์ดีเอ็นเอสเพื่อตรวจจับชื่อโดเมนปลอมแปลงคล้ายคลึง

(Development of DNS Analyzer System for Domain name Typosquatting Detection)

จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ส่งผลงาน : นายกิจจพันธ์ สิงห์ชัย

อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.สุรศักดิ์ สงวนพงษ์

2. ผลงานเรื่อง เส้นทางสู่การหลบหนีของคนร้าย

(The Direction of the Prison Escapes)

จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ส่งผลงาน : นายอภิรุจ ชุ่มวัฒนะ

อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา 

 

  

  

  

  

        

 

*******************************************

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ