DSI ร่วมงานเปิดตัวแนวปฏิบัติอาเซียนเกี่ยวกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่เป็นสตรี

เผยแพร่: 25 ม.ค. 2562 10:29 น. ปรับรุง: 25 ม.ค. 2562 10:29 น. เปิดอ่าน 1290 ครั้ง  
 

DSI ร่วมงานเปิดตัวแนวปฏิบัติอาเซียนเกี่ยวกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่เป็นสตรี

                 ตามที่ รัฐบาลมีนโยบายและให้ความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างสังคมและระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีการกระทำละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพ และสร้างความเหลื่อมล้ำต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทยได้รับการยกระดับเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าและมีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 
                   กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาที่มีลักษณะเป็นคดีพิเศษ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติารสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยรวมถึงความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และที่มีลักษณะเป็นคดีพิเศษ และเป็นคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามและสืบสวนสอบสวน

 

 

         ล่าสุด เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 09.00 น. พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้มอบหมายให้ พันตำรวจโท ปกรณ์ สุชีวกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานร่วมในพิธีการเปิดตัวแนวปฏิบัติที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะสำหรับการดูแลสตรีที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่แนวปฏิบัติฯ และเสริมสร้างความตระหนักและส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของกลุ่มสตรีและสมาชิกคนสำคัญในท้องถื่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาคสนามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและศูนย์การประชุม แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

   

               ในการนี้ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกว่า 30 หน่วยงาน อาทิ UN Women ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชี สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้จัดทำโครงการนำร่องสำหรับการแปล การจัดพิมพ์ และการเปิดตัวและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่มีความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะสำหรับการดูแลสตรีที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ของอาเซียนในประเทศไทย ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีส่วนช่วยสนับสนุนในการแปลเอกสารดังกล่าวจากภาษาอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ : Gender Sensitive Guideline for Handling Women Victims of Trafficking in Persons) เป็นภาษาไทยจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี นอกจากนี้ กองคดีการค้ามนุษย์ได้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อ ประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ” อีกด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้สรุปปัญหาและอุปสรรคจากประสบการณ์การทำงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนี้

1. ปัญหาการขาดแคลนสถานที่ที่เหมาะสมในการคัดแยกผู้เสียหาย

2. กระบวนการก่อนการคัดเลือก รวบรัดมากเกินไป ควรใช้เวลากับผู้เสียหายในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เสียหายกับผู้ซักถาม เพื่อให้ผู้เสียหายเกิดความไว้ใจและวางใจก่อน รวมทั้งรู้สึกปลอดภัยที่จะให้ข้อมูล

3. ในบางครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้สัมภาษณ์ และล่าม ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกรณีที่มีบุคคลที่จะต้องคัดแยกจำนวนมาก

4. การคุ้มครองเด็กหรือผู้เสียหายไว้ในสถานคุ้มครองนานเกินไป เป็นเรื่องที่ถูกบอกต่อกันว่า หากให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่จะต้องถูกนำไปไว้ในสถานคุ้มครองเป็นเวลานานกว่าจะได้เดินทางกลับบ้าน

5. ลักษณะความเป็นอิสระของเด็กหรือผู้เสียหาย ขณะที่พักอยู่ในสถานคุ้มครองในการเดินทางภายหลังเบิกความเสร็จเรียบร้อย รอการยืนยันข้อมูลจากปลายทางเพื่อส่งกลับ

6. การจำกัดการใช้โทรศัพท์ของเด็กหรือผู้เสียหาย เพื่อไม่ให้มีการข่มขู่หรือแทรกแซงจากฝ่ายผู้ต้องหาหรือนายหน้า ยังคงมีความจำเป็น แต่เด็กหรือผู้เสียหายอาจต่อต้าน และไม่ให้ความร่วมมือ

7. มีการข่มขู่ผู้ปกครองของเด็กหรือผู้เสียหายในต่างประเทศ

8. บางครั้ง เด็กหรือผู้เสียหายที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ยังมีทัศนคติหรือความรู้สึก ความคิด ว่าตนเองไม่ได้เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ พบว่าหลายครั้งเด็กหรือผู้เสียหายไม่ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายในคดี

9. ประเด็นของค่าเสียหายของผู้เสียหาย หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ผู้กระทำความผิดได้โอนทรัพย์สินต่าง ๆ หรือไม่มีทรัพย์สิน หรือไม่สามารถค้นหาทรัพย์สินมาชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายได้ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมเสนอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกองทุนเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหาย เพราะแม้ว่าจะยึดทรัพย์ผู้กระทำความผิดได้ แต่ทรัพย์สินที่ยึดได้ตามกฎหมายของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งไม่สามารถนำมาชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายได้ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว พลตำรวจเอก ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีกองทุนชดใช้ค่าเสียจากการค้ามนุษย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาและการศึกษาของรัฐบาล และผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอว่าควรเป็นกองทุนชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ามนุษย์ระดับอาเซียน โดยแต่ละประเทศจัดสรรงบประมาณเข้าสู่กองทุนฯ

 

 

**********************************************

 

 

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ