DSI ร่วมประชุม ๓ ฝ่าย : ไทย อินโดนีเซีย เมียนมา ต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง

เผยแพร่: 4 มิ.ย. 2558 18:19 น. ปรับรุง: 4 มิ.ย. 2558 18:19 น. เปิดอ่าน 1114 ครั้ง  
 
DSI ร่วมประชุม ๓ ฝ่าย : ไทย อินโดนีเซีย เมียนมา ต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง
 
 
 
          วันพฤหัสบดีที่ ๔ มิถุนายน๒๕๕๘  นางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าคณะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายประเทศไทย ร่วมการประชุม ๓ ฝ่ายระหว่างประเทศ อินโดนีเซีย ประเทศเมียนมาร์และประเทศไทย เพื่ออภิปราย เรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ฝในอุตสาหกรรมประมง การสืบสวนสอบสวนการกระทำผิดกฎหมานการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง ณ โรงแรมดุสิตธานี เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
 
          อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า สืบเนื่องจากแรงงานชาวไทยและชาติต่างๆ ได้เดินทางออกจากประเทศไทย ไปทำงานในอุตสาหกรรมประมงที่บริเวณเกาะอัมบนและเกาะเบนจินาสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยที่แรงงานบางส่วนเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งรัฐบาลไทยได้เร่งรัดกำลังดำเนินคดีเหล่านี้อยู่อย่างเต็มที่ แต่การสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีเหล่านี้ มีอุปสรรคในหลายประการ เนื่องจากเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่สลับซับซ้อน ยุ่งยากในการค้นหาพยานหลักฐาน และต้องพิจารณาถึงเขตอำนาจการสอบสวนอีกด้วย 
          กระทรวงยุติธรรม โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทย และโครงการออสเตรเลีย-เอเชีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (AUSTRALIA – ASIA PROGRAM TO COMBAT TRAFFICKING IN PERSONS) (AAPTIP) ริเริ่มจัดการประชุมสามฝ่ายระหว่างประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเมียนมา และประเทศไทย เพื่ออภิปรายเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง การสืบสวนสอบสวนการกระทำผิดกฎหมายการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมการประมง โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายประเทศไทยอินโดนีเซีย และเมียนมา รวมกว่า ๓๐ คน มาร่วมประชุมในระหว่างวันที่ ๔ – ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมดุสิตธานี เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยโครงการ (AAPTIP) ได้ให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณทั้งหมด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลข่าวสาร รวมถึงความท้าท้ายในการจัดการอาชญากรรมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง โดยคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของการค้ามนุษย์ ในอุตสาหกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆร่วมกัน สร้างความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งร่วมกันหามาตรการในการแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกัน นอกจากนี้จะสร้างความยั่งยืนในการทำงานร่วมกันของทั้งสามประเทศต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ