ผู้บริหาร DSI หารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ FBI พัฒนาการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษสู่มาตรฐานระดับสากล
เผยแพร่: 3 พ.ย. 2565 8:19 น. ปรับรุง: 3 พ.ย. 2565 8:23 น. เปิดอ่าน 2195 ครั้งผู้บริหาร DSI หารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ FBI พัฒนาการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษสู่มาตรฐานระดับสากล
เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2565 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ประกอบด้วย พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ พันตำรวจโท พเยาว์ ทองเสน และร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าหารือและรับประทานอาหารร่วมกับ เจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Bureau of Investigation-FBI) ประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ประกอบด้วย Mr.Christopher A. Cantrell, Legal Attaché (นายคริสโตเฟอร์ เอ แคนเทรล ผู้ช่วยทูตฝ่ายกฎหมาย) Mr.Jason E. Richards, Assistant Legal Attaché (นายเจสัน อี ริชาร์ด รองผู้ช่วยทูตฝ่ายกฎหมาย) Mr.August Goodman, Assistant Legal Attaché (นายออกัส กู๊ดแมน รองผู้ช่วยทูตฝ่ายกฎหมาย) Miss Jennifer Wahlgren, Intelligence Assistant Legal Attaché (นางสาวเจนิเฟอร์ วอลเกรน รองผู้ช่วยทูตฝ่ายกฎหมาย ด้านงาน
ข่าวกรอง สำนักงานตำรวจสืบสวนกลาง FBI สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย) Mr.Sirapob Horien, Security Investigator (นายสิรภพ โห้เหรียญ เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนด้านความมั่นคง) โดยหารือเกี่ยวกับ กระบวนการทำงานของ FBI ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อทราบถึงแนวทางกำหนดมาตรฐานการปฎิบัติงานและระบบการควบคุมคุณภาพ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับเทียบ (benchmark) กับการปฏิบัติของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในด้านการสืบสวน สอบสวน ให้มีประสิทธิภาพและเป็นสากล โดย FBI ยินดีให้ความร่วมมือกับ DSI ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านการสืบสวน สอบสวน การนำเทคโนโลยีคุณภาพสูงสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ การเชื่อมโยงกับเครือข่ายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีทักษะ เพื่อสร้างมาตรฐานการสืบสวนสอบสวนสู่มาตรฐานระดับสากล ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรมที่มุ่งเป็น “องค์การหลักในการบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมพิเศษตามมาตรฐานสากล “ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษจะนำมาเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป
กรณีดังกล่าว เป็นหนึ่งในห้าประเด็นของนโยบายการขับเคลื่อน กรมสอบสวนคดีพิเศษที่สำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของนายไตรยฤทธิ์ ที่เริ่มปรากฏผลเป็นรูปธรรม