การประชุมคณะอนุกรรมการติดตามการดำเนินการทางวินัยและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ครั้งที่ 3/2565
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2565 14:36 น. ปรับรุง: 3 ม.ค. 2566 17:12 น. เปิดอ่าน 528 ครั้ง ENการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามการดำเนินการทางวินัยและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ครั้งที่ 3/2565
วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 น. นางอรัญญา ทองน้ำตะโก รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามการดำเนินการทางวินัยและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ครั้งที่ 3/2565 โดยกองคดีการค้ามนุษย์ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้เชิญคณะอนุกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากหลายส่วนราชการ เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เช้าร่วมประชุมผ่านการประชุมทาง video Conferenceในการประชุมได้มีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ซึ่งสถิติตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 – ปัจจุบัน มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ จำนวน 116 คน แบ่งเป็นข้าราชการพลเรือน 14 คน ทหาร 8 คน ตำรวจ 78 คน นักการเมืองท้องถิ่น 16 คน ในทางอาญาดำเนินคดีไปทั้งสิ้น 120 คดี (เจ้าหน้าที่รัฐ 4 คน ถูกดำเนินคดีคนละ 2 คดี) และได้ดำเนินการทางวินัยทั้งสิ้น 96 คน (เจ้าหน้าที่ของรัฐ 20 คน ยังไม่มีข้อมูลวินัย) และยึดอายัดทรัพย์สินรวม 78.1 ล้านบาท นอกจากนี้ กองคดีการค้ามนุษย์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาเข้าเป็นเรื่องติดตามของคณะอนุกรรมฯ เพิ่มเติม จำนวน 9 เรื่อง ร่วมถึงกรณีเจ้าหน้าที่กรมจัดหางาน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกรับผลประโยชน์ ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ผ่านจุดตรวจค้นคัดกรองคนงานเพื่อมิให้ถูกตรวจสอบและระงับการดินทาง เป็นเรื่องติดตามใหม่ในครั้งนี้ด้วยนางอรัญญา ทองน้ำตะโก รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำความผิด ทั้งนี้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในรายงาน TIP REPORT ประจำปี 2022 ซึ่งได้มีการปรับอันดับประเทศไทยจากเดิมอยู่ในอันดับ Tier 2 Watch List เป็นอันดับ Tier 2 และเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลมุ่งแก้ไขเพื่อยกระดับประเทศไทยขึ้นสู่ Tier 1 ต่อไป