DSI และ สปป.ลาว ประชุมพัฒนากลไกการส่งต่อข้ามชาติ (TRM)ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการสืบสวนสอบสวนการค้ามนุษย์
เผยแพร่: 18 มี.ค. 2567 17:12 น. ปรับรุง: 3 เม.ย. 2567 12:29 น. เปิดอ่าน 981 ครั้ง ENวันนี้ (วันที่ 18 มีนาคม 2567) พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยพันตำรวจตรีสิริวิชญ์ ชาญเตชะสิทธิ์กุล ผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ และนางสาวอทิตยา ทองบุญ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นเจ้าภาพและร่วมการประชุมกับ Pol.Col. Kikeo CHANTHALANGSY (พันตำรวจเอก กีแก้ว จันทะลังสี) รองหัวหน้ากองตำรวจสกัดกั้นและต้านการค้ามนุษย์กระทรวงป้องกันความสงบ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กองคดีการค้ามนุษย์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) คือ กระทรวงป้องกันความสงบ สหพันธ์แม่หญิงลาว กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม ศาลประชาชนสูงสุดแห่งชาติลาว และองค์การอัยการประชาชน อีกทั้งเจ้าหน้าที่จากโครงการอาเซียน – ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ หรือ ASEAN-ACT รวมทั้งสิ้นจำนวนกว่า 30 คน ใน “การประชุมการพัฒนากลไกการส่งต่อข้ามชาติ(TRM) ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลการสืบสวนสอบสวนระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” (Meeting on Development of Transnational Referral Mechanism (TRM) on Investigative Information between Law Enforcement Agencies in Thailand and the Ministry of Public Security Anti-Trafficking Division of Lao PDR) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการ ASEAN-A ณ โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพ สุขุมวิท
การประชุมฯ ดังกล่าวสืบเนื่องมาจากอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ซึ่งพัฒนาไปสู่บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (12 กรกฎาคม 2560) โดยการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างสองประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี ตลอดจนการคุ้มครองผู้เสียหายและพยานในคดีค้ามนุษย์ อีกทั้งเพื่อหารือเกี่ยวกับร่างขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน (Standard Operating Procedure: SOP) โดยคู่ภาคีฝ่ายไทย คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ คู่ภาคีฝ่ายสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ กระทรวงป้องกันความสงบซึ่งสอดคล้องดังที่ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เคยให้นโยบายไว้ว่า การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องดำเนินโดยหลัก 5P คือ Policy Prevention Protection Prosecutionและ Partnership โดยการประชุมร่วมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังกล่าวนี้เป็นการส่งเสริมหลักการ Partnership ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของการดำเนินการของทั้งสองประเทศในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่แน่นแฟ้นในอนาคตต่อไป