กรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมงานเปิดอาคารใหม่-ครบรอบสถาปนา 130 ปีกระทรวงยุติธรรม ณ กระทรวงยุติธรรม (อาคารแห่งใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ)
เผยแพร่: 29 มี.ค. 2564 12:33 น. ปรับรุง: 29 เม.ย. 2564 10:41 น. เปิดอ่าน 2466 ครั้ง ENกรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมงานเปิดอาคารใหม่-ครบรอบสถาปนา 130 ปีกระทรวงยุติธรรม
ณ กระทรวงยุติธรรม (อาคารแห่งใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ)
วันที่ 25 มีนาคม 2564 พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมคณะผู้บริหาร และข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม โดยในงานครบรอบสถาปนา 130 ปีกระทรวงยุติธรรม มีการมอบเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ประจำปี 2564 ให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ รางวัลข้าราชการดีเด่นของกระทรวงยุติธรรม และการมอบประกาศนียบัตรและเหรียญอาสาสมัครยุติธรรม โดยข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผู้ได้รับรางวัล ในปี2564 ดังนี้
รางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ได้แก่
1. นางสาวปรียนุช คงฤทธิศึกษากร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ
2. นายสุรัตน์ แรงกสิวิทย์ เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส
เครื่องหมายยุติธรรมธำรง ได้แก่
1. นายนิคม สุวรรณรุ่งเรือง ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์
2. นางสาวอรุณศรี วิชชาวุธ รองผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ
3. พันตรี อรรคริน ลัทธศักดิ์ศิริ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ
4. นายคมคณิศร์ ผ่องหิรัญ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ
5. นายไพบูลย์ หิรัญราศีกุล เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
6. นายศิริพงษ์ บรรจงแก้ว เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ
ในการนี้ งานสถาปนา130ปีกระทรวงยุติธรรม ได้รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางมาร่วมประชุมรับฟังผลงานสำคัญ และเป็นประธานเปิดอาคารแห่งใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีได้ร่วมรับฟังผลงานที่สำคัญของคณะทำงานชุดพิเศษ “พาลีปราบยา” ซึ่งมีตัวแทน 6 ชุด จาก 16 ชุดในการนำเสนอผลงาน โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นหนึ่งในคณะทำงานชุดพิเศษนี้ด้วย โดยได้รายงานถึงความคืบหน้าในการสืบสวนสอบสวนของเครือข่ายยาเสพติดรายสำคัญ และผลการปฏิบัติการตรวจสอบทุจริตฮั้วประมูลโครงการรัฐ
โอกาสนี้ ได้มีชาวบ้านกลุ่มเกษตรกรจากจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าขอบคุณนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและ พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ได้พิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอโนนสุวรรณ และอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 222 คน ที่เสียหายจากการซื้อปุ๋ย โดยได้ลงลายมือชื่อในเอกสารใบสั่งซื้อ และไม่เคยติดต่อเจรจาซื้อขาย ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะเป็นคู่สัญญากับผู้ใด ต่อมา ทางบริษัทขายปุ๋ย ได้ฟ้องร้องให้ชำระเงินกว่า 42 ล้านบาท เกษตรกรต้องต่อสู้คดีนานถึง 6 ปีเต็ม กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเข้าสู่การพิจารณาของศาล ซึ่งศาลชั้นต้น ตัดสินว่าประชาชนไม่ต้องชดใช้หนี้ ส่วนศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น และเพิ่มเติมว่าเป็นปุ๋ยปลอม ณ กระทรวงยุติธรรม (อาคารแห่งใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ)