DSI ร่วมประชุมคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรม กรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK)

เผยแพร่: 18 ก.ค. 2567 10:07 น. ปรับรุง: 18 ก.ค. 2567 10:07 น. เปิดอ่าน 231 ครั้ง  
 

          วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 น. พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ร่วมประชุมคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK)ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ประธานคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมกรณี บริษัท สตาร์คคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ อาทิ พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษนายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี พลตำรวจตรี ดร.สมชาติ สว่างเนตร อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรมพันตำรวจโท สุทธิศักดิ์ จิตพิมลมาศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายบังคับใช้กฎหมาย 2 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายยิ่งยง นิลเสนา

          ในการนี้ ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 171/2567 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) (โดยเป็นการยกเลิกคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 158/2567 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2567 และแต่งตั้งคณะทำงานฯ ขึ้นใหม่) ความเป็นมาและข้อมูลเบื้อต้นของ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) และบริษัท/บุคคอื่น ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูล/ข้อเท็จจริง จากตัวแทนผู้เสียหายจากการลงทุนหุ้นสามัญ และข้อมูล/ข้อเท็จจริง จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้พิจารณา หัวข้อ/ประเด็นในการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการศึกษาแหล่งข้อมูล และกรอบระยะเวลาการดำเนินการของ คณะทำงานศึกษาแผนประทุษกรรมกรณี บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(STARK) ตลอดจนการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ

          โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ผลการศึกษาในเรื่องนี้สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องคุ้มครองประชาชน ทำให้ตลาดทุนมีความเชื่อมั่นได้มากขึ้น เราไม่อยากให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกถ้าจะเกิดขึ้นควรจะมีการเตือนภัยมากกว่าเดิม และหลังจากการศึกษามีเป้าหมายสูงสุด คือ การหาแนวทางให้ผู้เสียหายได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ โดยกระทรวงยุติธรรมมี “กองทุนยุติธรรม” เป็นช่องทางการช่วยเหลือโดยไม่ก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมใด ๆ และถ้าผลการศึกษากรณีดังกล่าวได้มา

         ในด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ประธานคณะทำงานฯ กล่าวว่า การทำงานของคณะทำงานมีกรอบระยะเวลา 3 เดือน โดยในตอนต้นกรมสอบสวนคดีพิเศษจะดำเนินการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ว่ามีการกระทำอะไรที่เกิดขึ้น และเป็นความผิดกฎหมายอะไรบ้างในขณะเดียวกันจะพิจารณาว่าการเยียวยาผู้เสียหายต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ยังมีช่องว่างอยู่มากผู้เสียหายจากการลงทุนในตลาดทุนที่ไม่ได้รับการดูแลเนื่องจากกฎหมายยัง

           ครอบคลุมไม่ถึงมีข้อเสนออะไรในเรื่องของการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ และจากบทเรียนกรณี บริษัท สตาร์คคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) คณะทำงานฯ จะดำเนินการศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าสามารถที่จะประสานงานการดำเนินการได้อย่างไร และมีแนวทางใดที่สามารถได้ข้อมูลหรือรับรู้ความผิดสังเกตนี้ได้รวดเร็วมากขึ้น เพราะการทำทุจริตประเภทนี้เวลาที่ใช้ในการดำเนินการสั้น ซึ่งถ้ารู้แล้วจะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว


เอกสารที่เกี่ยวข้อง