ความคืบหน้าการดำเนินคดีพิเศษที่ 103/2560 กรณีบริษัท อีเกิ้ล เกทส์ กรุ๊ป จำกัด ในความผิดฐาน “ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน”

เผยแพร่: 6 ก.พ. 2561 10:42 น. ปรับรุง: 6 ก.พ. 2561 10:42 น. เปิดอ่าน 1412 ครั้ง  
 

 

ความคืบหน้าการดำเนินคดีพิเศษที่ 103/2560 กรณีบริษัท อีเกิ้ล เกทส์ กรุ๊ป จำกัด 
ในความผิดฐาน “ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน”

 

 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงยุติธรรมที่มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ โดย พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และพันตำรวจเอก ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้สั่งการให้ พันตำรวจโท ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ 103/2560 ดำเนินการสืบสวนสอบสวน กรณี บริษัท อีเกิ้ล เกทส์ กรุ๊ป จำกัด กับพวก มีพฤติการณ์เป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หลอกลวงผู้เสียหายให้ร่วมลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้รวบรวมพยานหลักฐานจนสามารถพิสูจน์ทราบพฤติการณ์การกระทำความผิดของบริษัท อีเกิ้ล เกทส์ กรุ๊ป จำกัด กับพวก ซึ่งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

 

 

 

จากการสืบสวนสอบสวน พบว่า บริษัท อีเกิ้ล เกทส์ กรุ๊ป จำกัด กับพวก ไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งยังไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดๆ ในประเทศไทยอันจะสามารถจ่ายผลตอบแทนในอัตราที่สูงได้ตามที่โฆษณา นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มผู้กระทำความผิดจำนวนมากทั้งชาวไทยและต่างชาติได้รวมตัวกันเพื่อก่อเหตุในคดีนี้โดยมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

ผลจากการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าว ศาลอาญาได้ออกหมายจับบุคคลชาวไทยและต่างชาติทั้งสิ้น 10 ราย ประกอบด้วย ชาวต่างชาติ ราย (ชาวสิงคโปร์ 4 ราย, ชาวอเมริกัน 2 ราย และชาวเนเธอร์แลนด์ 2 ราย) และชาวไทย ราย คือ นายรัฐเขต ฉายารัตน และนางกนกกุล พรอภิโชติ ซึ่งเป็นตัวการใหญ่ ในความผิดฐาน “ร่วมกันกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฉ้อโกงประชาชน” ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 มาตรา 5พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ประกอบมาตรา 83 และศาลอาญายังได้ออกหมายค้นสถานที่ที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น แห่ง ผลการตรวจค้น พบเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับบริษัท อีเกิ้ล เกทส์ กรุ๊ป จำกัด และสามารถตรวจยึดทรัพย์สินมีค่าได้จำนวนหนึ่ง

กรมสอบสวนคดีพิเศษได้สนธิกำลังกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสำนักงาน ปปง. จับกุมตัวนายรัฐเขต ฉายารัตน และนางกนกกุล พรอภิโชติ ผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยขณะนี้ได้อยู่ระหว่างฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และมีกำหนดครบฝากขังครั้งที่ 5 ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561

คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาปรากฏผู้เสียหายจำนวนมาก รวมแล้วกว่า 1,000 คนทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยมีผู้เสียหายจำนวนกว่า 250 คน เดินทางเข้ามาพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การ พร้อมพยานหลักฐาน และความเสียหายเพิ่มเติม อันเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเป็นอย่างมาก โดยจากคำให้การของผู้เสียหายทั้ง 250 คน พบว่ามีมูลค่าความเสียหายกว่า 150 ล้านบาท

ล่าสุด คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรับมอบพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องทางคดี โดยได้ประสานการทำงานและได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสำนักงานสืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (HSI) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา

การกระทำอันเข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่ ถือเป็นความผิดมูลฐานฟอกเงิน จึงต้องมีการดำเนินคดีในความผิดฐานฟอกเงิน  ในชั้นนี้พบว่า มีขบวนการฟอกเงินของชาวต่างชาติเข้ามาก่อเหตุเคลื่อนไหว ทำการฟอกเงินให้กับขบวนการแชร์ลูกโซ่ในประเทศไทยหลายกลุ่ม ถือเป็นการกระทำขององค์การอาชาญากรรมข้ามชาติที่เป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ จากการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ในขณะนี้ มีหลักฐานเชื่อได้ว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด ซึ่งจะได้สรุปส่งสำนวนการสอบสวนส่งให้พนักงานอัยการคดีพิเศษต่อไป

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ขอฝากเตือนไปยังประชาชน ให้ระมัดระวังการชักชวนให้ลงทุนที่อ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราที่สถาบันการเงินพึงจ่ายได้ แม้ว่าจะมีการสร้างความน่าเชื่อถือด้วยวิธีต่างๆ หรือการโฆษณาชวนเชื่อว่า มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ขออย่าได้ไว้วางใจโดยเฉพาะหากมีพฤติการณ์ในการชักชวนลงทุนดังกล่าว ขอให้ตรวจสอบความเป็นมาของบริษัทหรือประวัติของผู้ชักชวนให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากมีข้อมูลหรือเบาะแสสามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่ สายด่วนกรมสอบสวนคดีพิเศษ โทร.1202 (โทรฟรีทั่วประเทศ)

 

********************************************

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ