รายงานการศึกษา เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ กรณีการสอบสวนร่วมหรือปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับอัยการ

เผยแพร่: 13 ส.ค. 2557 16:29 น. ปรับรุง: 13 ส.ค. 2557 16:29 น. เปิดอ่าน 3228 ครั้ง  
 

อาชญากรรมที่มีลักษณะพิเศษก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม หรือความมั่นคงของประเทศอย่างมากมาย และมีลักษณะการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนทำให้การค้นหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดกระทำได้โดยยาก  ดังนั้นพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษจึงกำหนดให้มีระบบการสอบสวนพิเศษเพิ่มขึ้นจากการสอบสวนทั่วไปตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาหลายประการ เช่น การกำหนดให้พนักงานอัยการเข้าร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กำหนดให้มีการสอบสวนและการปฎิบัติหน้าที่ร่วมกันในรูปแบบบูรณการ เป็นระบบการสอบสวนที่มีแนวคิดที่เน้นความชำนาญเฉพาะด้าน และเป็นระบบการสอบสวนที่มีการตรวจสอบจากหลายฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังกำหนดวิธีการสืบสวนสอบสวนพิเศษ เช่น การดักฟังโทรศัพท์ การค้นโดยไม่มีหมายศาล เป็นต้น แม้กระบวนการสอบสวนพิเศษดังกล่าวนับได้ว่าเป็นมิติใหม่ของระบบการสอบสวนคดีอาญา ที่ทำให้การดำเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวนและชั้นการฟ้องร้องมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น และการสอบสวนที่มีบุคคลหลายฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญต่างกันเข้ามาร่วมทำการสอบสวนเป็นแนวทางหนึ่งที่แก้ไขข้อบกพร่องในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีที่มีความยุ่งยากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงพบปัญหาบางประการในการสอบสวนร่วมหรือปฎิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานอัยการ กล่าวคือ ปัญหาที่เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย และความไม่ชัดเจนในกระบวนการชั้นการสอบสวนฟ้องร้อง 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง