สมาชิก บ.BML ร้องทุกข์กับ DSI ถูกหลอกใช้ลงทุนธุรกิจแชร์ลูกโซ๋
เผยแพร่: 25 ก.พ. 2557 10:23 น. ปรับรุง: 25 ก.พ. 2557 10:23 น. เปิดอ่าน 2362 ครั้ง
สมาชิก บ. BML ร้องทุกข์กับ DSI ถูกหลอกให้ลงทุนธุรกิจแชร์ลูกโซ่ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.00 น ประชาชนประมาณ 20 คนเข้าร้องทุกข์ต่อพ.ต.อ.ไพสิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ห้องประชุม ชั้น 22 อาคารชอพแวร์ปาร์ค เพ่ือขอให้ช่วยดำเนินคดีกับ กลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกลวงให้ เป็นสมาชิกร่วมลงทุนทองคำแท่งของบริษัทเบสท์มีไลฟ์ จำกัด (BML) ซึ่งเปิดธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค บังหน้า แต่การดำเนินธุรกิจที่แท้จริง คือ ชักชวนให้ สมาชิกหลงเชื่อ ร่วมลงทุนกับบริษัท ซึ่งคาดว่า มีสมาชิกทั่วประเทศ ที่ร่วมลงทุนตั้งแต่หลักหมื่นบาท ไปจนถึงหลายแสนบาท โดย บริษัทดังกล่าว ชักจูงว่า จะให้ผลตอบแทนสูง ตั้งแต่ 10% - 50 % แล้วแต่แผนการลงทุน ทั้งนี้ในระยะแรก ผู้เสียหายจะได้รับผลตอบแทนที่รวดเร็ว และต่อเนื่อง จนสมาชิกให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่ในระยะหลัง การจ่ายเงินค่าตอบแทนเริ่มมีความผิดปกติ โดยบริษัทจะขอเลื่อนจ่ายค่าตอบแทนเรื่อยมา สมาชิกจึงติดต่อเพื่อขอคืนเงินทุน แต่ไม่มีความคืบหน้าประการใด จนกระทั่งบริษัทปิดตัวไปในที่สุด ในการนี้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ จะขอรวบรวมพยาน หลักฐานและสอบปากคำผู้เสียหายโดยละเอียด รอบคอบ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ขอแจ้งเตือนไปยังประชาชนว่า การชักชวนให้ร่วมลงทุนผลตอบแทนสูงเกินกว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ มีข้อสังเกตุได้ว่า ไม่ได้มุ่งเน้น การขายสินค้าหรือบริการ แต่จะมุ่งเน้นหา สมาชิกใหม่เพื่อสร้างเครือข่ายหรือระดมทุนเพียงอย่างเดียว และมีการจ่ายผลตอบแทนมากขึ้นตาม จำนวนสมาชิกที่หามาได้ในทุกระดับชั้น ส่วนสินค้าที่อ้างถึงมักไม่มีการซื้อขายจริงหรือซื้อขาย กันเพียงกระดาษ หรือถ้าเป็นสินค้าที่ซื้อขายจริงก็มักเป็นสินค้าที่มีราคาขายสูง กว่าความเป็นจริง หลายเท่าตัว แต่ไม่มีคุณภาพ และที่สาคัญมักจะอาศัยชื่อเสียงของบุคคลที่สังคมรู้จัก หรือบุคคลที่มี อาชีพน่าเชื่อเป็นผู้ร่วมลงทุน นอกจากนี้หลอกลวงว่า จะ ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์หลายเท่าตัว ทั้งที่จริงแล้วการจ่ายค่าตอบแทนให้กับสมาชิก คือ การหมุนเวียนเงินที่ได้จากรายใหม่มาจ่ายเป็นผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยให้กับรายเก่า ในลักษณะที่หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ หรือที่เรียกกันว่า “แชร์ลูกโซ่” และเมื่อดำเนินธุรกิจไปได้สักระยะหนึ่งก็จะปิดบริษัท โกงเงินที่สมาชิกร่วมลงทุน หลบหนีไป จึงขอให้ประชาชนมิให้ตกเป็นเหยื่อดังกล่าว