ดีเอสไอ เดินหน้าร่วมมือ ตำรวจสหพันธ์รัฐออสเตรเลีย (AUSTRALIAN FEDERAL POLICE)  ในโอกาสเข้าเยี่ยมชม DSI  Academy  ลุยจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม (Flag Ship Course) เพื่อเพิ่มสมรรถนะเจ้าหน้าที่ DSI และเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ ให้เตรียมรับมือภัยคุกคามจากอาชญากรรมพิเศษ

เผยแพร่: 19 เม.ย. 2566 8:46 น. ปรับรุง: 19 เม.ย. 2566 14:54 น. เปิดอ่าน 599 ครั้ง   EN
 

ดีเอสไอ เดินหน้าร่วมมือ ตำรวจสหพันธ์รัฐออสเตรเลีย (AUSTRALIAN FEDERAL POLICE)  ในโอกาสเข้าเยี่ยมชม DSI  Academy  ลุยจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม (Flagship Course) เพื่อเพิ่มสมรรถนะเจ้าหน้าที่ DSI และเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ ให้เตรียมรับมือภัยคุกคามจากอาชญากรรมพิเศษ

วันที่ 18 เมษายน 2566 พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ ร้อยตำรวจเอก ทินวุฒิ สีละพัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ  และนายอุดมการ วโรตม์สิกขดิตถ์ ผู้อำนวยการส่วนกิจการต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ กองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ให้การต้อนรับ นายปีเตอร์ ไซโคล่า ผู้บังคับการประจำภูมิภาคเอเชีย สำนักงานตำรวจสหพันธ์รัฐออสเตรเลีย (Australian Federal Police) และคณะเจ้าหน้าที่ ณ สถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 

ผู้อำนวยการสถาบันการสอบสวนคดีพิเศษได้นำคณะชมสถานที่ แนะนำภารกิจสถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ และหารือแนวทางความร่วมมือการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสำคัญ (Flagship Course)  ในลักษณะคณะทำงานร่วมกัน (Working Group) โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ (Job-Specific Skill) อย่างเป็นมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ โดยให้มีการแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด และจำเป็นสำหรับการบริหารจัดการคดีพิเศษ (Special Case Management Couse) ที่เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายผู้ร่วมปฏิบัติงานตามกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ ในการรับมือกับภัยคุกคามจากอาชญากรรมพิเศษที่สำคัญ อาทิ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ  อาชญากรรมการค้ายาเสพติด เป็นต้น
 
ทั้งนี้ การเข้าเยี่ยมชมสถาบันการสอบสวนคดีพิเศษ ของตำรวจสหพันธ์รัฐออสเตรเลียในครั้งนี้  เป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายในอนาคตจะขยายไปสู่เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อร่วมมือกันป้องกันและปรามปรามอาชญากรรมคดีพิเศษ ในยุคไร้พรมแดน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ