ผู้แทน DSI นำเสนอ “บทบาทของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และการรับแจ้งเหตุตามมาตรา 29” ในงานวันต่อต้านการทรมานสากล
เผยแพร่: 27 มิ.ย. 2566 9:03 น. ปรับรุง: 29 มิ.ย. 2566 11:07 น. เปิดอ่าน 400 ครั้ง ENผู้แทน DSI นำเสนอ “บทบาทของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
และการรับแจ้งเหตุตามมาตรา 29” ในงานวันต่อต้านการทรมานสากล
วันที่ 26 มิถุนายน 2566 พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ ผู้แทนกองคดีความมั่นคง เข้าร่วมงานวันต่อต้านการทรมานสากล จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมเพื่อการป้องกันการทรมาน ภายใต้โครงการอบรม “Safe in Custody School” ณ ห้อง Learning Studio สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ทางด้านนายทวีวัฒน์ สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคดีความมั่นคง จึงได้มอบหมายให้นายจิรัฐ ทองผิว ผู้อำนวยการส่วนสอบสวนการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย 1 และ นางสาวพิมลพรรณ ชูรัตน์ รักษาการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประสานความร่วมมือป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เข้าร่วมงาน และนำเสนอ ในประเด็น “บทบาทของกรมสอบสวนคดีพิเศษภายใต้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และการรับแจ้งเหตุตามมาตรา 29” ดังนี้
1. จัดตั้งหน่วยงานภายใน คือ “ส่วนสอบสวนการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย 1-2 และศูนย์ประสานความร่วมมือป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในสังกัดกองคดีความมั่นคง เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.
2. ออกแนวทางปฏิบัติภายในการเตรียมความพร้อมรองรับการใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ. ประกาศใช้แนวทางปฏิบัติ แบบการรับเรื่องร้องทุกข์/กล่าวโทษ และแจ้งผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
3. จัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนกลาง ศูนย์ปฏิบัติการเขตพื้นที่ 1-9 และจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เรื่องที่มาและเจตนารมย์ของกฎหมายและบทบาทของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ครั้งที่ 2 เรื่องขอบเขตของกฎหมายและอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. และครั้งที่ 3 เรื่องแนวทางปฏิบัติตาม พ.ร.บ. และระบบแจ้งการควบคุมตัวและวิธีการปฏิบัติในการควบคุมตัว ตามมาตรา 22 มาตรา 23 กำหนดจัดขึ้นปลายเดือนมิถุนายน 2566
4. บรรจุองค์ความรู้ตาม พ.ร.บ.นี้ ในหลักสูตรหลักของ DSI ทั้งหลักสูตรอบรมเจ้ากน้าที่คดีพิเศษ และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
5. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ทั้ง Animation และ InfoGhaphic เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน
6. จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงให้กับผู้ปฏิบัติงาน ในระหว่างที่กฎหมายบังคับใช้แล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษสั่งการให้หน่วยจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ให้กับผู้ปฏิบัติ หากไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ให้ประสานขอรับการสนับสนุนจาก กทศ. เพื่อขอให้อุปกรณ์กลางในการสนับสนุนภารกิจ
7. จัดประชุมภายใน DSI เพื่อขับเคลื่อนภารกิจและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตาม พ.ร.บ. อย่างต่อเนื่อง