DSI ส่งผู้แทนร่วมประชุมระหว่างประเทศ AICHR Consultation on Freedom of Opinion and Expression (FOE) in ASEAN 2023 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
เผยแพร่: 6 ธ.ค. 2566 10:27 น. ปรับรุง: 4 ม.ค. 2567 13:46 น. เปิดอ่าน 1352 ครั้ง ENกระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ AICHR Consultation on Freedom of Opinion and Expression (FOE) in ASEAN 2023 และเป็นวิทยากรร่วมบรรยาย ภายใต้หัวข้อ Sharing Practices, Experiences, Challenges in Dealing with the Spread of Hate Speech, Misinformation, and Disinformation in the era of post-pandemic เสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น และประชาคมอาเซียนที่เชื่อมโยงกันทางดิจิทัลในยุคหลังการระบาดของโควิด : ความท้าทาย โอกาส และเส้นทางในอนาคต
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้มอบหมายให้นางสาวอรุณศรี วิชชาวุธ ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ และนางสาวธมลวรรณ ชนิตรนันท์ นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ กองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย ในการประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 1-2 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรม Le Meridien Jakarta กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเชีย
นางสาวอรุณศรี และนางสาวธมลวรรณ ได้นำเสนอบทบาทหน้าที่ ภารกิจ และอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ถึงความท้าทายและการจัดการกับปัญหาข้อมูลเท็จ ข่าวลวง รวมถึงคําพูดที่เป็นการข่มขู่ คุกคาม หรือสบประมาท (hate speech) ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษและต่อประเทศไทย รวมทั้งได้มีการนำเสนอถึงนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูล ข้อเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีกลุ่มข่าวที่ต้องเฝ้าระวังแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มข่าว ได้แก่ กลุ่มข่าวภัยพิบัติ กลุ่มข่าวสุขภาพ กลุ่มข่าวเศรษฐกิจ กลุ่มข่าวนโยบายรัฐบาล และกลุ่มข่าวการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งในที่ประชุมมีความสนใจต่อภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษในด้านการป้องกันและปราบปรามการหลอกลวงออนไลน์เป็นอย่างมาก และแสดงความเห็นว่าเป็นภารกิจที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง