อธิบดีดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์ประเด็นการค้าประเวณีในเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีมากขึ้น ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้แคมเปญ No Tears ของ ASEAN-ACT

เผยแพร่: 20 พ.ค. 2565 7:13 น. ปรับรุง: 31 พ.ค. 2565 14:24 น. เปิดอ่าน 989 ครั้ง   EN
 

อธิบดีดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์ประเด็นการค้าประเวณีในเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีมากขึ้น ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้แคมเปญ No Tears ของ ASEAN-ACT

วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 นายไตรยฤทธิ์  เตมหิวงศ์  อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้สัมภาษณ์ประเด็นแนวโน้ม การค้าประเวณีเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีมากในปัจจุบัน ที่เป็นช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้แคมเปญ No Tears ของโครงการอาเชียน-ออสเตรเลีย เพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ASEAN-Australia Counter-Trafficking หรือ ASEAN-ACT  ณ ห้องรับรอง อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการฯ  อาคารเอ  เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทย (วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี) ให้เป็นที่รู้จักและแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทยและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอย่างเข้มแข็งในการต่อต้านอาชญากรรมการค้ามนุษย์ รวมถึงการสนับสนุนของรัฐบาลออสเตรเลียต่อการดำเนินงานของรัฐบาลไทยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความสามารถของหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมในการรับมือต่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งการคุ้มครองผู้เสียหาย ผ่านทางโครงการ ASEAN-ACT โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ทำให้มีอัตราการว่างงานสูงขึ้น การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น จึงที่เป็นช่องว่างให้ผู้กระทำความผิดใช้โอกาสในการหลอกลวงประชาชนให้ไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งมีการบังคับให้ทำงานเป็น Scammer หากทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด จะถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกขายต่อไปทำงานที่อื่น  

ทั้งนี้ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวถึง ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลโดย พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี  นายสมศักดิ์  เทพสุทิน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  ได้ให้ความสำคัญในทุกภาคส่วน ให้ร่วมมือกันแก้ไขอย่างแท้จริงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายภายใต้กระทรวงยุติธรรม จึงมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักกฏหมายและหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยไม่เลือกเพศ เชื้อชาติ หรือสถานะทางสังคม และดำเนินคดีด้วยความโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ