DSI และกรมตำรวจสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ร่วมกันประชุมหารือการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการค้ามนุษย์
เผยแพร่: 14 มิ.ย. 2567 10:24 น. ปรับรุง: 26 มิ.ย. 2567 8:03 น. เปิดอ่าน 764 ครั้ง ENวันที่
11 - 12 มิถุนายน 2567 ภายใต้ข้อสั่งการของ
พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ภายใต้ การอำนวยการของ พันตำรวจตรี สิริวิชญ์ เกษมทรัพย์
ผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ มอบหมายให้ พันตำรวจตรี อาริชย์ ทัศน์พันธุ์
รองผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ (1) และนายปภาวิน
มรรยาวุฒิ รองผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์ (2) พร้อมกับคณะเจ้าหน้าที่กองคดีการค้ามนุษย์
ให้การต้อนรับ Pol Brig Gen Myint Htoo หรือ พลตำรวจจัตวา
มิน ตู และคณะผู้แทนกรมตำรวจสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งประกอบด้วย
ผู้แทนกองบัญชาการปราบปรามการค้ามนุษย์ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม
ผู้แทนกรมตรวจคนเข้าเมืองผู้แทนกรมพินิจและฟื้นฟู เป็นต้น ในการประชุมทวิภาคีด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในการสืบสวนสอบสวนคดีการค้ามนุษย์ระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษกับกรมตำรวจสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
โดยถือเป็นการประชุมทวิภาคีด้านความร่วมมือฯ ระหว่างทั้ง 2
หน่วยงาน ซึ่งถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นครั้งที่ 23 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและส่งเสริมศักยภาพระหว่างหน่วยงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ซึ่งสอดคล้องดังที่ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ได้ให้นโยบายไว้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษว่า การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ต้องดำเนินโดยหลัก 5P คือ Policy Prevention Protection Prosecution และ Partnership
ซึ่งการประชุมดังกล่าวนี้ เป็นการส่งเสริมหลักการ Partnership
ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์
การข่าวกรอง และแนวทางในการดำเนินคดี ตลอดจนความร่วมมือในทางคดีแล้ว
การประชุมดังกล่าวยังเปิดโอกาสการหารือเกี่ยวกับการคุ้มครองเยียวยาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และบังคับใช้แรงงานร่วมกับองค์กรภาคีซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการประชุมดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน
คือ มูลนิธิไอเจเอ็ม องค์การ IOM มูลนิธิ อิมมานูเอล องค์กรลิฟต์อินเตอร์เนชั่นแนล มูลนิธิราฟาอินเตอร์เนชั่นแนล
มูลนิธิเดสทินี่ เรสคิว มูลนิธิโซเอ
ซึ่งล้วนเป็นภาคีที่ร่วมกันดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กับกรมสอบสวนคดีพิเศษมาโดยตลอด ทั้งนี้ คณะผู้แทนฯ
ยังได้รับเกียรติให้เดินทางไปเยี่ยมชมการปฏิบัติงานขององค์กรภาคีดังกล่าว ณ ที่ตั้งขององค์กรด้วย
----------------------------------
ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2567